Month: August 2019

กิจกรรมประชาสัมพันธ์โปสเตอร์ของชมรม

สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกและประชาชนผู้สนใจทุกท่านครับ เมื่อวานนี้ ผมได้มีโอกาสไปพบกับอาจารย์นพดล ซึ่งท่านเป็นประธานของคณะทำงานกลุ่มแพทย์สำหรับโรค MPN และยังเป็นประธานที่ปรึกษาของ ชมรมผู้ป่วยโรค MPN ประเทศไทย ของพวกเราด้วยครับ เพื่อรายงานกิจกรรมต่างๆของชมรมฯในช่วงปีแรก ที่ได้ดำเนินการแล้ว และที่กำลังดำเนินการอยู่ ก่อนอื่นผมต้องขอใช้โอกาสนี้อีกครั้งขอขอบพระคุณอาจารย์นพดล รพ. ศิริราช อาจารย์อุดมศักดิ์ รพ. จุฬาลงกรณ์ อาจารย์ธวัชชัย รพ. ราชวิถี และ อาจารย์อภิชัย รพ.พระมงกุฎเกล้า มากๆอีกครั้งนะครับ ที่ช่วยให้คำปรึกษาและสนับสนุนผมในความตั้งใจจริงทำงานจิตอาสาโดยเฉพาะ การก่อตั้ง ชมรมผู้ป่วยโรค MPN…

MPN THAI TALK ตอน 12

สวัสดีครับ เพื่อนๆสมาชิกทุกท่าน ผมขอเอาภาคต่อจากตอนที่แล้วเกี่ยวกับการอัพเดทการจัดกลุ่มโรค MPNs ของ WHO 2016 มานำเสนอดังนีครับ “ตัวอย่างของการรับข้อมูลเก่าที่คลาดเคลื่อนคือเรื่องยาที่ใช้ หากเราไปหาข้อมูลเก่าๆจะพบว่ายาคีโมที่สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยก่อนการจัดกลุ่มใหม่นั้นมีหลายชนิด เช่น Hydroxyurea, Bulsulfan และ Chlorambucil Chlorambucil ใช้ในผู้ป่วย ลูคีเมีย และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ส่วน Busulfan ใช้คล้ายกันและใช้กับผู้ป่วยก่อนการเปลี่ยนถ่ายสเต็มเซลล์ ทั้ง 2 ตัวนี้เป็นยาคีโมที่ถูกแนะนำให้ใช้ในกลุ่ม Myeloproliferative Disorders เดิมไม่ใช่ MPNs หลังการจัดกลุ่มใหม่…

MPN THAI TALK ตอน 11

สวัสดีครับ เพื่อนๆสมาชิกทุกท่าน ในตอนนี้ผมขอหยิบเอาข้อมูลที่เพื่อนสมาชิกนำมาแบ่งปันในห้องไลน์ชมรมที่มีการอัพเดทจาก WHO ดังนี้ครับ “มีข้อมูลที่ นพ. พงษ์เทพ วิบูลย์จันทร์ ได้เผยแพร่ไว้ ซึ่งผมเห็นว่ามีประโยชน์ เป็นการบรรยายเรื่องการแบ่งกลุ่มโรค หลังจาก WHO ทำการClassify จัดแบ่งกลุ่มของโรคใหม่จากเดิมที่เรียกว่า Myeloproliferative Disorders มาเป็น Myeloproliferative Neoplasms ในปี 2016 คำว่า Neoplasms แปลว่า”เนื้องอกหรือเซลที่งอก” บ่งบอกว่าเป็นความผิดปกติที่มียีนกลายพันธุ์และแบ่งเซลล์ผิดปกติ การใช้คำนี้เพื่อให้แยกความแตกต่าง การรักษาเป็นแบบเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ผมเห็นความสำคัญว่าผู้ป่วยต้องมีความเข้าใจในเรื่องนี้ไม่อย่างนั้น…

MPN THAI TALK ตอน 10

สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิก มาถึงตอนจบแล้วนะครับของเรื่องราวประสบการณ์ตรงของเพื่อนสมาชิกของชมรมฯเราที่นำเรื่อง การถ่ายเลือด หรือ Phlebotomy มาแบ่งปันในห้องไลน์ชมรมฯ ติดตามอ่านกันเลยครับ “ผ่านไป7 เดือนนับจากครั้งแรก โดนไปร่วมสิบครั้ง ครั้งหนึ่งไป รพ. แล้วพยาบาลคนเดิมไม่อยู่ เราก็พยายามบอกคนใหม่ว่าคนเดิมเขาทำยังไงถึงเลือดออกดี เขาก็ไม่ฟัง แกล้งแทงแรงๆอีกต่างหาก….กลับบ้านแขนช้ำอีก จากนั้นก็ขอหมอ….พอครับ ผมยอมตายดีกว่าหากต้องมาทรมานแบบนี้ทุกเดือน ก็มาคิดนะว่าทำไมคนที่เขาไปบริจาคเลือดเขาไม่เห็นมีปัญหาเลย วิธีการก็เหมือนๆกัน แต่ผมก็หยุดทำมาเกือบสิบปีเพราะคนป่วยอย่างเราไปให้บริจาคเลือดเองไม่ได้ กระทั่งเมื่อสองวันที่ผ่านมาผมไปหาหมอที่ รพ. ชลบุรี มีแผนกรับบริจาคเลือด หมอให้ไปทำที่ตึกนั้น มันแตกต่างกันมากจริงๆ พยาบาลเขาจะเลือกเส้นเลือดอย่างละเอียด มาช่วยกันดู 2…

MPN THAI TALK ตอน 9

สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกทุกท่าน เมื่อตอนที่ 8 ผมได้พูดถึงเรื่องราวของเพื่อนสมาชิกของชมรมฯเราท่านหนึ่งได้เล่าประสบการณ์การทำ Phlebotomy หรือ การถ่ายเลือด ซึ่งผมขอนำมาเล่าต่อเลยนะครับ “พยาบาลก็มักจะอ้างว่าเป็นเพราะเลือดเราข้นเกินไป มันจึงออกมาช้าแล้วก็แข็งตัว(clot) เสียก่อน ต้องเจาะใหม่…….เราได้แต่กัดฟันกรอดๆๆๆๆ ถูกซ้ำเติมอีกว่าเป็นเพราะโรคของเรา พยาบาลก็เรียกเพื่อนๆมาช่วยดูเพื่อเจาะใหม่ แต่ออกมานิดเดียวก็หยุดอีก ยังได้ไม่ครบตามหมอสั่ง ตอนนี้ก็เริ่มอยากจะลุกจากเตียงกลับบ้านละ พอก่อนได้ไหมผมไม่ไหวแล้ว พยาบาลก็จะเริ่มทำหน้าไม่ค่อยสวยละ ไปตามหมอมาดู สรุปหมอบอกว่าต้องทำต่อจนได้เลือดครบ พยาบาลก็คิดว่าเพราะเข็มเหล็กมันเล็กเกินไป เลือดเลยออกช้า ขอเปลี่ยนเป็นเข็มพลาสติกละกัน ……ทีแรกเราก็คิดว่าคงจะดี เข็มพลาสติกน่าจะนิ่มไม่เจ็บ แต่จริงๆนิ่มมันทำให้แทงเข้าช้า และมีขนาดใหญ่กว่าด้วย เจ็บยิ่งกว่าเข็มเหล็กหลายขุม ทีนี้ไปตามเพื่อนมากันเกือบทั้ง…

MPN THAI TALK ตอน 8

สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกทุกท่าน เมื่อตอนที่แล้ว ผมได้พูดถึงการรักษาโรคเลือดข้น ซึ่งมีหลายวิธีและ การถ่ายเลือด หรือ Phlebotomy ก็เป็นวิธีหนึ่งที่คุณหมอจะเลือกใช้ในการรักษาให้กับผู้ป่วย ซึ่งผมขอนำเอาเรื่องราวของเพื่อนสมาชิกในห้องไลน์ชมรมฯของเราที่ได้เล่าประสบการณ์ที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้ที่ผมว่ามีประโยชน์และน่าจะนำมาพูดให้เพื่อนๆสมาชิกได้เห็นภาพที่ชัดเจนถึงการรักษาด้วยวิธีนี้ “การถ่ายเลือด Phlebotomy บางคนเรียกว่า blood letting เป็นวิธีรักษาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงน้อย มีอาการของโรคไม่มาก หรือระยะเริ่มต้นเมื่อพบความผิดปกติของเลือดครับ หมอจะสั่ง 300-450 cc ขึ้นกับความเสี่ยงและภาวะของเม็ดเลือดครับ ผมมีประสบการณ์ที่ไม่ค่อยดีนักกับการทำ phlebotomy เมื่อตอนเริ่มเป็นใหม่ๆ(10 ปีก่อน) ตอนนั้นทำทุกๆ2อาทิตย์ หลังจากหมอวินิจฉัยแล้วว่าเป็นผู้ป่วย PV หรือ ET…

MPN THAI TALK ตอน 7

สวัสดีครับ เพื่อนๆสมาชิก ทุกท่าน ตอนนี้เรามาคุยกันถึงการวินิจฉัยและแนวทางการรักษาของผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะ เลือดข้น กันเลยนะครับ การวินิจฉัยเลือดข้น แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการของผู้ป่วย เช่น หน้าแดง มือและเท้าแดง ความดันโลหิตสูง เลือดกำเดาไหล หรือฟกช้ำ หากแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยมีภาวะเลือดข้นมักจะตรวจม้ามว่ามีอาการโตหรือไม่ รวมถึงแนวทางในการวินิจฉัยอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ การตรวจเลือด นิยมทำด้วยกัน 3 วิธี คือ การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การตรวจสเมียร์เลือด หรือการตรวจอีริโทโพอิติน โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood…

MPN THAI TALK ตอน 6

สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกทุกท่าน 1 ใน 3 ชนิดของโรค MPN ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับพวกเรา ก็คือ โรค Polycythemia Vera หรือ PV ที่มีชื่อเรียกเป็นภาษาไทย หลายชื่อ เช่น โรคเลือดข้น โรคเลือดหนืด โรคเม็ดเลือดแดงสูง เป็นต้น แต่ผมขอเลือกเรียกว่า โรคเลือดข้น นะครับ เรามาทำความรู้จักกับโรคเลือดข้น กันครับ เลือดข้น (Polycythemia) คือ ภาวะที่ไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดในจำนวนที่มากผิดปกติ ทำให้เลือดข้นขึ้น…