สรุปหัวข้อสำคัญการประชุม MPN Horizons 2021

MPN Horizons Virtual Conference 2021:November 12-14

สรุปประเด็นสำคัญ ตอนที่ 1

Ropeginterferon Alfa 2b (Besremi)

เป็น pegylated interferon ที่ได้รับการรับรองเป็นยาใช้แบบเดี่ยว กับผู้ใหญ่ที่ป่วยด้วยโรค polycythemia vera ที่ไม่มีภาวะม้ามโต

ผลิตมาเป็นแบบปากกาฉีด pre-filled ที่ผู้ป่วยสามารถฉีดเองที่บ้านได้ สามารถกำหนดปริมาณในการฉีดได้ ฉีดบริเวณใต้ผิวหนัง subcutaneous

ดร. Heinz Gisslinger ได้เปิดเผยข้อมูลจากผลการทดลองการใช้ Ropeginterferon แบบต่อเนื่องเป็นเวลานาน

– ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วย ropeginterferon มีแนวโน้มที่จะไม่ต้องทำ phlebotomy หลังจากปีที่ 4 และ 5 ขึ้นไป ดีกว่าเมื่อเทียบกับการรักษาด้วยยาหลักเดิม

– Ropeginterferon สามารถควบคุมปริมาณ hematocrit และลดการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน (thromboembolic events)ในผู้ป่วย PV ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

– พบการพัฒนาของโรคน้อย ในระหว่างการใช้ยาเป็นระยะเวลายาวนาน ซึ่งเป็นผลจากการตอบสนองในระดับโมเลกุล(ยีน) ได้อย่างดี

– ไม่พบสัญญาณของอาการที่ส่งผลเรื่องความปลอดภัย ในการใช้ในปีที่ 5 เป็นสิ่งยืนยันได้ว่าผู้ป่วยสามารถทนต่อยานี้ได้ดีในการใช้ระยะยาว

Cr: Many thanks for the informative and impressive presentations to Speaker: Prof. Heinz Gisslinger

และขอขอบคุณ คุณบูรชัย ที่ช่วยสรุปข้อมูลร่วมกับผมในการประชุมครั้งนี้ #mpnhz21

MPN Horizons Virtual Conference 2021; November 12-14

สรุปประเด็นสำคัญ ตอนที่ 2

การพัฒนาของโรคไปเป็นอาการอื่นๆที่ต้องใช้ยาเพื่อแก้ไข

1 ใน โรคเลือดข้น PV เมื่อโรคดำเนินไปถึงจุดที่เกิดการขาดธาตุเหล็ก ยาที่แนะนำให้ใช้คือ PTG-300 ( rusfertide )

2 เมื่อเกิดภาวะซีดใน โรคพังผืดในไขกระดูก MF ยาที่ใช้ได้คือ momelotinib, CPI-0610, pacritinib

3 ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ใน MF ยาที่ใช้ได้คือ momelotinib, pacritinib

4 การได้รับธาตุเหล็กมากเกินไปจากการให้เลือดในผู้ป่วย MF ยาที่ใช้ได้คือ การทำคีเลชั่น (ดูดเลือดออกมาเพื่อกำจัดธาตุเหล็กและใส่กลับเข้าไปในร่างกาย)

Cr: Many thanks for the informative and impressive presentations to Prof. Andrew Kuykendall และ คุณบูรชัย ที่ช่วยกันสรุปข้อมูล #mpnhz21

MPN Horizons Virtual Conference 2021: November 12-14.

สรุปประเด็นสำคัญ ตอนที่ 3

การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต(การปลูกถ่ายไขกระดูก): Stem Cell Transplantation

ปัญหาหลักที่เกิดขึ้นหลังการทำ sct คือ

1 graft versus host (GvHD)

2 graft versus myelofibrosis effect

เกิดจาก T cell ของ donor ต่อต้านเซลล์ผู้ป่วย และ เซลล์ที่ก่อให้เกิด myelofibrosis

เมื่อใด จึงควรทำ sct

เมื่อเกิด blast phase(ตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวถูกสร้างขึ้นจากอวัยวะอื่นนอกไขกระดูก)

เกิดได้จาก

1 PV/ET พัฒนาไปเป็น post-PV/ET และเกิด blast

2 MF (20%) ที่มี blast

อัตราความสำเร็จในการทำ sct คือ 60% ในคนที่ทำเร็จ หลังทำ sct สามารถทำให้ ระดับเกรดของผังผืด (fibrosis grade)จาก MF3 เป็น MF0 ได้หลังจาก 100 วัน

จากอดีต การทำ sct ในยุโรปมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และสามารถทำได้ในผู้ป่วยที่มีอายุสูงขึ้นเรื่อยๆ

มีการพัฒนาการทำ sct จากอดีต อัตราการรอดชีวิตในช่วงปี 1980-1995 คือ 4.6 ปี

ในช่วงปี 1196-2007 เพิ่มขึ้นเป็น 6.5 ปี

Cr: Many thanks for informative and impressive presentation to Prof. Nicolaus Kroger และ ขอขอบคุณ คุณบูรชัยที่ช่วยสรุปข้อมูล #mpnhz21

MPN Horizons Virtual Conference 2021;November 12-14

สรุปประเด็นสำคัญ ตอนที่ 4

ในตอนที่ 3 ได้พูดถึงภาพรวมของการปลูกถ่ายไขกระดูกหรือการทำ sct ในตอนที่ 4 นี้ขอพูดต่อในเรื่องที่สำคัญคือ การเลือกผู้ป่วย

อันดับแรกต้องดู risk factors

ลองให้คะแนนก่อนว่าเราถูกจัดอยู่ในกลุ่มใด โดยเอาคะแนนของแต่ละความเสี่ยงมารวมกัน

กลุ่มที่ถูกเลือก คือกลุ่ม high risk

และ intermediate-2

เนื่องจาก 2 กลุ่มนี้มีอัตราการรอดชีวิตต่ำมาก

การใส่คะแนน ความเสี่ยง

1 อายุ มากกว่า 65 ได้ 1 คะแนน

2 อาการพื้นฐานที่ส่งผลต่อร่างกาย เช่น เพลีย อ่อนแรง เหงื่อออกกลางคืน เป็นไข้ คัน และน้ำหนักลด ได้ 1 คะแนน

3 ฮีโมโกลบิน (hb) ต่ำกว่า 10 ได้ 2 คะแนน

4 เม็ดเลือดขาวมากกว่า 25×10^9/L ได้ 1 คะแนน

5 blast มากกว่าหรือเท่ากับ 1% ได้ 1 คะแนน

รวมทั้งหมด คะแนนเต็มคือ 6

เท่ากับ 5 หรือ 6 คือ high เสี่ยงสูง

3-4 คือ เสี่ยงปานกลางระดับ 2 ( intermediate-2)

2 กลุ่มนี้ถูกจัดให้อยู่ในผู้ที่ควรถูกเลือกเพื่อทำ sct

สำหรับผู้ป่วย post PV/ET อัตรารอดใน high risk เพียง 2 ปี ใน intermediate-2 4.4 ปี

ทำไมจึงเลือก 2 กลุ่มนี้

จากการศึกษาเปรียบเทียบผลหลังทำ sct พบว่า อัตรารอดชีวิตของกลุ่ม int-2 และ high มีสูงกว่าการไม่ทำ sct มาก หลังจากระยะเวลาผ่านไป 4 ปี (ดูรูป C)

จะเห็นว่าใน A ซึ่งเป็น low risk การทำ sct มีอัตรารอดชีวิตต่ำกว่าไม่ได้ทำในช่วงแรก(เสี่ยงกว่าไม่ได้ทำ) จะสูงกว่าก็เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 10 ปี และไม่ได้แตกต่างกันมาก

ส่วน รูป B เป็น int-1 หลังทำในช่วงแรกมีอัตรารอดต่ำกว่าไม่ได้ทำ และจะสูงกว่าเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 5 ปี และไม่ได้แตกต่างกันมาก

จากกราฟด้านล่างจะเห็นว่า ในกลุ่ม int-2 และ high มีสัดส่วนผู้ป่วยที่รอดชีวิตมากกว่า (กราฟเส้นทึบอยู่สูงกว่ากราฟเส้นบาง)อย่างมีนัยสำคัญ

สรุปหลักการคัดเลือกผู้ป่วยทำ sct

1 high และ int-2 จากการให้คะแนน dipss score และมีอายุต่ำกว่า 70 ปี

2 int-1 ที่อายุต่ำกว่า 65 และต้องมีภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งคือ รับการให้เลือดเป็นประจำเนื่องจากภาวะซีด , มี blast ในเลือดมากกว่า 2% หรือ มีความผิดปกติของโครโมโซม (adverse cytogenetic)

ส่วนใหญ่เกิดจากการมีการกลายพันธุ์มากกว่า 1 ชนิดขึ้นไป

3 ผู้ป่วย low risk ไม่ควรทำ sct แต่ต้องคอยติดตามเฝ้าระวัง เมื่อการพัฒนาของโรคมีมากขึ้น

Cr: Many thanks for informative and impressive presentations to Prof. Nicolaus Kruger และ คุณบูรชัย ที่ช่วยสรุปข้อมูล #mpnhz21

MPN Horizons Virtual Conference 2021:November 12-14

สรุปประเด็นสำคัญ ตอนที่ 5

ในตอนที่ 4 ได้พูดถึงวิธีการเลือกผู้ป่วยโรคพังผืดในไขกระดูก MF สำหรับทำการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด หรือ การปลูกถ่ายไขกระดูก (sct) ในตอนที่ 5 ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายของการทำ sct ขอจบด้วยประเด็น คะแนนที่ใช้ประมินความเสี่ยง และ การใช้ยา Ruxolitinib

Transplant risk score เป็นสิ่งที่ใช้ประเมินความสำเร็จ ในการทำ sct

จะเห็นว่า ใน Calr และ MPL ได้ risk score ถึง 2 คะแนน แสดงว่าการกลายพันธุ์ชนิดนี้ มีอัตราการรอดชีวิตต่ำกว่าการกลายพันธุ์อื่น

อีกปัจจัยที่ได้ 2 คะแนนคือ สเต็มเซลล์จากผู้บริจาคที่ไม่เหมาะสมตรงกัน ทำให้อัตรารอดต่ำ

แนะนำให้ใช้ ruxolitinib ก่อนการทำ sct

และไม่ควรใช้นานเกินไปจนเกิดการดื้อต่อยา ruxolitinib ก่อนทำ sct

ผลของการใช้ ruxolitinib ชัดเจนว่าทำให้การทำ sct สำเร็จมากขึ้น

กราฟสีเขียวคือการใช้ ruxolitinib

ภาพบน มีการเกิดภาวะแทรกซ้อนลดลง

ภาพล่าง 2 ภาพแสดงการรอดชีวิตที่สูงกว่ามาก

Cr: Many thanks for informative and imoressive presentation to Prof. Nicolaus kruger และ คุณบูรชัย ที่ช่วยสรุปข้อมูล

MPN Horizons Virtual Conference 2021:November 12-14

สรุปประเด็นสำคัญ ตอนที่ 6

โรคเลือด MPN ในคนอายุน้อย (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 40 ปี)

เมื่อเปรียบเทียบกับโรค MPN ในคนทั่วไป พบสิ่งที่แตกต่างอย่างเด่นชัดคือ ในกลุ่มโรค ET พบ triple negative mutation ในผู้ป่วยอายุน้อย มากถึง 29% ในขณะที่พบในผู้ใหญ่เพียง 14%

พบ ยีนกลายพันธ์ Calr ในผู้ป่วย PMF อายุน้อย 27% ในขณะที่พบในผู้ใหญ่ 20%

อัตราและระยะเวลารอดชีวิต มีสูงกว่าในผู้ใหญ่ ในทั้ง 3 กลุ่มโรค แต่โอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เกิดได้สูง ภาวะดังกล่าวคือ

-มีเลือดออก

-กล้ามเนื้อหัวใจตาย

-มีเลือดอุดตันในช่องท้องและสมอง

เพิ่งมีการเริ่มศึกษาเรื่อง MPN ในผู้ป่วยอายุน้อย ได้ไม่นาน ก่อนปี 2018 ไม่มีงานตีพิมพ์ใดๆเกี่ยวกับ MPN ในผู้ป่วยอายุน้อยมาก่อน

จนกระทั่งมีการศึกษาที่สิ้นสุดในปี 2017 โดย Mayo Clinic ทำในผู้ป่วย 361 คน ที่อายุ น้อยกว่าและเท่ากับ 40 ปี

ผลการทดลองในครั้งนั้น

พบผู้ป่วยอายุ 18-40 ปี 361 คน เป็นสัดส่วน 12% จากผู้ป่วยรวม 3023 คน

แยกเป็น โรคเกล็ดเลือดสูง ET 61%

โรคเลือดข้น PV 22%

และ โรคพังผืดในไขกระดูก PMF 17%

ผลสรุป

มีความเสี่ยงต่ำกว่าผู้ใหญ่

พบผู้ป่วยเพศหญิงเป็น ET มากกว่า

พบการอุดตันในหลอดเลือดแดงน้อยกว่าในทุกกลุ่มย่อย

พบการอุดตันในหลอดเลือดดำมากกว่าใน PV

***ต้อง note ไว้คือ ผู้ป่วย PV อายุต่ำกว่า 40 ต้องระวังการอุดตันของหลอดเลือดดำ***

1 ผู้ป่วยอายุน้อย มีปัจจัยเสี่ยงต่ำ

* Calr ใน ET และ PMF

* รูปร่างโครโมโซม(karyotype)ปกติใน PV และ PMF

*การกลายพันธุ์ในระดับยีนเกิดขึ้นได้น้อยในผู้ป่วย PMF

2 โอกาสเกิด มะเร็งเม็ดเลือดขาว 2% ET, 4% PV , 10% PMF

3 การเกิดผังผืด 16% ET, 22% PV

(ผู้บรรยายขยายความไว้ว่า ที่สัดส่วนการเกิดผังผืดมีสูง เป็นเพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอายุไขที่ยาวนาน จึงตรวจพบได้มาก)

4 ระยะเวลารอดชีวิต 35 ปี ET , 37 ปี PV และ 20 ปี PMF

Cr: Many thanks for informative and impressive presentatons to Prof. Eva Lengfelder และ ขอขอบคุณ คุณบูรชัย ที่ช่วยสรุปข้อมูล #mpnhz21

MPN Horizons Virtual Conference 2021; November 12-14

สรุปประเด็นสำคัญ ตอนที่ 7

การรักษา MPN ในหญิงตั้งครรภ์

เรื่องนี้มีการศึกษากันมานานและมีมาตรฐานการรักษาเป็นที่แพร่หลายแล้ว เช่นการใช้ยา interferon และ low molecular weight heparin ในผู้ป่วยตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง

แต่ข้อมูลใหม่ ที่ผู้บรรยายเน้นมากที่สุดคือ ควรต้องให้ low molecular weight heparin เป็นเวลา 6 สัปดาห์ หลังจากคลอดแล้ว

Cr: Many thanks for interesting and informative presentation to Prof. Martin Griesshammer และ ขอขอบคุณ คุณบูรชัย ที่ช่วยสรุปข้อมูล #mpnhz21

MPN Horizons Virtual Conference 2021

สรุปประเด็นสำคัญ ตอนที่ 8

การทดลอง Pegylated interferon ในผู้ป่วย PV ( advanced PV คือผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง มีprogressionของโรค)

การศึกษาติดตามเป็นระยะเวลาเฉลี่ยแบบมัธยฐาน 7 ปี

ประสิทธิภาพของยา จากการติดตาม 66 เดือน

HR 80% ส่วน CHR 76% มีผู้ป่วย 76% ที่มี complete hematological remission คือลดการเพิ่มขึ้นของเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์

ประสิทธิภาพของยาจากการใช้ยาและเฝ้าติดตามเป็นเวลา 53 เดือน

พบว่า มากกว่า 60% ที่มี การลดการกลายพันธุ์ในระดับโมเลกุล(ยีน) Molecular remission ก่อนหยุดยา ผู้ที่ใช้ยาต่อไปได้มีการลดการกลายพันธุ์แบบสมบูรณ์( CMR)

มีความเป็นพิษของยาใน 5-10% /ปี

61% ต้องหยุดยา 35% เกิดจากพิษของยา

พบความปัญหาเกิดจากการใช้ยาคือ ปัญหาที่เกิดกับหลอดเลือดและการพัฒนาของโรค

Cr: Many thanks for interesting and informative presentation to Prof. Claire Harrison และ ขอขอบคุณ คุณบูรชัยที่ช่วยสรุปข้อมูล #mpnhz21

MPN Horizons Virtual Conference 2021

สรุปประเด็นสำคัญ ตอนที่ 9

การศึกษาความเป็นไปได้ของการหยุดยา Interferon ในผู้ป่วย MPNs

-ผู้ป่วย 381 คนใช้ยา interferon alfa

-เมื่อแรกเริ่ม เปอร์เซ็นต์ของยีนกลายพันธุ์หลักเฉลี่ยในผู้ป่วยคือ 34%

-เกิดการลดการเพิ่มเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์(CHR) 77.2%

250 คนต้องหยุดใช้ยา หลังจากเวลาผ่านไป 72.4 เดือน

การหยุดยาเป็นวิธีที่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยที่ได้ผลการลดของเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์แล้ว และมีเปอร์เซ็นต์การกลายพันธุ์ลดลงต่ำกว่า 10%

ผู้ป่วยที่มีเปอร์เซ็นต์การกลายพันธุ์เหลือสูงกว่า 10% แต่จำเป็นต้องหยุดยา จะพบปัญหาที่ตามมาคือ

1 มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิด relapse คือ โรคกลับมากำเริบ

2 โอกาสที่จะมีการลดเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ระยะยาวลดลง

Cr: Many thanks for interesting and informative presentation to Prof. Claire Harrison และ ขอขอบคุณ คุณบูรชัย ที่ช่วยสรุปข้อมูล #mpnhz21

MPN Horizons Virtual Conference 2021

สรุปประเด็นสำคัญ ตอนที่ 10

JAK Inhibitor Landscape 2021

Speaker ได้นำเสนอ ภาพรวมภูมิทัศน์ของยาที่ใช้ยับยั้งการกลายพันธ์ของยีนกลุ่ม Janus Kinase (JAK) ของปีนี้ ดังนี้ครับ

1 ยาที่ได้รับการอนุมัติแล้ว(approved)

  • Ruxolitinib : ยายี่ห้อ JAKAFI สำหรับใช้เป็นยาตัวแรก (First Line) ของโรคพังผืดในไขกระดูก MF และ เป็นยาลำดับที่ 2 ของ โรคเลือดข้น PV
  • Fedratinib: สำหรับใช้เป็นยาตัวแรกของโรคพังผืดในไขกระดูก MF ซึ่ง ล่าสุดเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาทาง US FDA ได้อนุมัติ ยายี่ห้อ INREBIC

2 ยาที่กำลังรอการอนุมัติ (seeking approval)

  • Pacritinib: สำหรับโรคพังผืดในไขกระดูก MF ที่มีปัญหา เกล็ดเลือดต่ำ
  • Momelotinib: สำหรับโรคพังผืดในไขกระดูกเช่นกัน
  • Ruxolitinib Combinations: การใช้ยาร่วมกันระหว่างยา Ruxolitinib กับ ยาตัวอื่นๆ
  • NS-018: สำหรับโรคพังผืดในไขกระดูก

3 ยาที่อยู่ระหว่างการทดลอง (in active)

  • มีหลายตัว เช่น XL-019, BMS911543 เป็นต้น

Cr: Many thanks for interesting and informative presentation to Prof. Ruben Mesa