สรุปหัวข้อสำคัญการประชุม MPN Horizons 2018

สรุปหัวข้อการประชุม MPN Horizons 2018 ตอนที่ 1

สวัสดีครับ เพื่อนๆผู้ป่วย MPN ทุกท่าน ผมได้มีโอกาสไปร่วมการประชุมนานาชาติที่เรียกว่า MPN Horizons 2018 ซึ่งจัดขึ้นทุกปีโดยมีการเชิญตัวแทนจากองค์กรหรือชมรมผู้ช่วยเหลือผู้ป่วยโรค MPN จาก 50 กว่าองค์กร เกือบ 60 ประเทศทั่วโลกที่เป็นสมาชิกของ MPN Advocates Network

ในปีนี้ MPN Horizons 2018 จัดขี้นระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม – 2 กันยายน 2561 ที่กรุงปร๊าก ประเทศสาธารณรัฐเชค การประชุมครั้งนี้ถือว่ามีการเน้นประเด็นที่ชัดเจน น่าสนใจมาก ได้ Speakers ที่มีความชำนาญมากในแต่ละหัวข้อ ในด้าน Medical session มี 4 หัวข้อใหญ่ คือ 1. Future of MPN’s 2. Wait and Watch 3. Research Process with Industry &Doctors 4. Living well with MPN’s

ในด้าน Advocacy session มี 4 หัวข้อใหญ่เช่นเดียวกัน คือ 1. Best Practices 2. What is Advocacy from Theory to Reality 3. Market Place – Break out rooms. 4.Evidence Based

นี่เป็นภาพรวมโดยสรุปถึงประเด็นของการประชุม MPN Horizons 2018 ซึ่งผมจะทยอย เอาเนื้อหาของแต่ละหัวข้อที่ผมเห็นว่ามีความสำคัญและน่าจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆผู้ป่วยโรค MPN มาเล่าสู่กันฟังในครั้งต่อๆไป นะครับ ขอบคุณครับ

สรุปหัวข้อการประชุม MPN Horizons 2018 ตอนที่ 2

สวัสดีครับ เมื่อตอนที่ 1 ผมได้วาดภาพกว้างๆ ให้ทุกท่านได้ทราบถึง หัวข้อหลักๆทั้งด้านการแพทย์ (Medical Session) และ ด้านการสนับสนุน (Advocacy Session) ที่มีการนำเสนอในการประชุมครั้งนี้ ในตอนที่ 2 นี้ ผมขอเริ่มต้นด้วยหัวข้อพื้นฐานแต่มีความสำคัญมากที่สุด คือ ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของโรค MPN ทั้ง 3 ชนิดที่ทาง Speaker คือ Dr. Martin H. Ellis ได้นำเสนอในที่ประชุมซึ่งสรุปไว้ดังนี้ครับ

  • การกลายพันธุ์ของยีน แจ๊คทู (JAK2 V617F Mutation) จะพบได้มากที่สุดในผู้ป่วย โรค MPN ชนิด PV หรือ โรคเลือดเม็ดเลือดแดงสูง ถึง 95% และ จะพบได้ประมาณ 50-60% ในผู้ป่วยโรค MPN ชนิด ET หรือ โรคเกล็ดเลือดสูง และ ชนิด MF หรือโรคพังผืดในไขกระดูก
  • พบ ยีน แจ๊กทู ชนิด JAK2 Exon 12 ใน ผู้ป่วยชนิด PV
  • พบ การกลายพันธุ์ของยีน MPL ประมาณ 5 % ในผู้ป่วย โรค ET และ MF
  • ดังนั้น ประมาณ 1/3 ของผู้ป่วยโรค ET และ MF จะไม่พบการกลายพันธุ์ของยีน JAK2 และ MPL
  • แต่ ประมาณ 10 % ของผู้ป่วยโรค ET และ MF พบว่ามี การกลายพันธุ์ของยีน ถึง 3 ชนิด คือ JAK2 , MPL และCARL

สำหรับข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับโรค MPN ทั้ง 3 ชนิด ผมจะไม่นำมาเขียนไว้ในที่นี้นะครับ เพราะผมได้นำเอาข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับโรค MPN ที่ได้คัดลอกมาจากบทความของคุณหมอทางโลหิตวิทยา หลายท่านที่ได้เคยลงไว้ในสื่อ

ออนไลน์ต่างๆแล้ว รวบรวมเอามาลงไว้ในเว็บไซท์นี้แล้วที่ หน้า บทความทางวิชาการไทย ทุกท่านสามารถคลิกเข้าไปอ่านรายละเอียดของโรค MPN ทั้ง 3 ชนิดได้นะครับ

ในตอนหน้าตอนที่ 3 ผมจะนำเอาหัวข้อเกี่ยวกับ ผลข้างเคียงและ วิธีการรักษาโรค MPN ที่ทาง Speaker ได้นำเสนอในการประชุมครั้งนี้ สวัสดีครับ

สรุปหัวข้อการประชุม MPN Horizons 2018 ตอนที่ 3

สวัสดีครับ เมื่อตอนที่ 2 ผมได้เล่าถึงเรื่อง การกลายพันธุ์ของยีนทั้ง 3 ชนิดที่พบในผู้ป่วยโรค MPN ทั้ง 3 ชนิด ตอนที่ 3 นี้ ผมขอพูดถึงข้อมูลทางด้านระบาดวิทยา ผลข้างเคียง และ วิธีการรักษา โดยเริ่มที่โรค PV หรือ โรคเม็ดเลือดแดงสูง ก่อนนะครับ

การระบาดวิทยาและอุบัตการณ์ PV

  • พบผู้ป่วยโรค PV ได้ทั่วโลก แต่จะน้อยหน่อยใน ประเทศญี่ปุ่น
  • อายุเฉลี่ย 60 ปี ประมาณ 25% ต่ำกว่า 50 ปี 10 % ต่ำกว่า 40 ปี
  • ผู้ชาย มากกว่า ผู้หญิง
  • ประมาณ 2 ต่อ ประชากร 100,000 คน
  • Familial tendency
  • ส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุ

อาการของโรค PV

  • ปวดหัว วิงเวียน หน้ามืด
  • อ่อนเปลี้ยน เพลียแรง มีอาการคัน น้ำหนักลด
  • ผิวหนังแดง หน้าแดง
  • ม้ามโต

การรักษา PV

การควบคุม ค่าฮีมาโทคริต (Hematocrit) คือ เปอร์เซนต์ของเม็ดเลือดแดงต่อปริมาณเลือดทั้งหมด หรือ ค่าความเข้มข้นของเลือด ต้อง เท่ากับหรือน้อยกว่า 45%

  • การเจาะเลือดออก (Phlebotomy) เพื่อลดปริมานเม็ดเลือดแดง ควรทำกับผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปี
  • การใช้ยาเคมีบำบัด เช่น Hydroxyurea เพื่อลดการทำงานของไขกระดูก สำหรับผู้ป่วยอายุมากว่า 60 ปี
  • การใช้ยากระตุ้นภูมิคุ้มกัน เช่น Interferon alpha สำหรับกรณีพิเศษ เช่น การตั้งครรภ์
  • การใช้ยา ที่ออกฤทธิ์ยับยั้ง ยีน JAKs (JAK Inhibitors) คือ Ruxolitinib (JAKAVI) เมื่อเกิดการดื้อยา

การใช้ยาต้านเกล็ดเลือด สำหรับโรค PV

  • การใช้ยา Aspirin 100 mg. เพื่อลดการแข็งตัวของเลือดและการเกิดลิ่มเลือด

สรุปหัวข้อการประชุม MPN Horizons 2018 ตอนที่ 4

สวัสดีครับ เมื่อตอนที่ 3 ผมได้เขียนเล่าถึง โรค MPN ชนิดแรก คือ โรคเลือดข้นหรือเลือดหนืด PV มาตอนที่ 4 นี้ผมขอมาเขียนเล่าถึง โรค MPN ตัวที่ 2 คือ โรค เกล็ดเลือดสูง ET ในด้านสถิติการตรวจพบของผู้ป่วย ลักษณะทางคลินิค และความผิดปกติของทางห้องแลบ ก่อนนะครับ

โรคเกล็ดเลือดสูง ET

การระบาดวิทยาและอุบัติการณ์ ET

  • พบได้ในประชากรทั้งหมด
  • อายุเฉลี่ย 55 ปี
  • ผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
  • ประมาณ 2-3 ต่อประชากร 100000 คน

ลักษณะทางคลินิค ET

  • พบกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท เช่น เจ็บปวด แขนขาบวมแดง ปวดหัว สูญเสียการได้ยิน มีภาวะพาเรสทีเซีย คือ ความรู้สึกเหมือนของแหลมทิ่มแทง รู้สึกคัน เสียว หรือแสบ บริเวณ มือ แขน ขาและเท้า ภาะวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
  • ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดอุดตัน
  • ภาวะเลือดออกหรือการตกเลือด มึค่า เกล็ดเลือดสูงมากกว่า 1,500,000 เซลล์ต่อไมโครลิตร

ความผิดปกติของการตรวจทางห้องแลบ ET

  • เกล็ดเลือดสูง
  • เม็ดเลือดขาวสูง
  • (ค่าฮีโมโกลบิน เท่ากับ ปกติ)
  • ค่า LDH และ uric acid สูง
  • พบการกลายพันธุ์ของยีน JAK2, CARL และ mpl

สรุปหัวข้อการประชุม MPN Horizons 2018 ตอนที่ 5

สวัสดีครับ ตอนที่ 5 นี้ ผมขอต่อด้วย การพยากรณ์ของโรค และ วิธีการรักษา โรคเกล็ดเลือดสูง ET เลยนะครับ

การพยากรณ์โรค ET

  • ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน 5-30%
  • ภาวะเลือดออกหรือตกเลือด 5-15%
  • กลายเป็นโรค พังผืดในไขกระดูก ใน 10 ปี ประมาณ 1 % และ 15 ปี ประมาณ 9 %
  • กลายเป็นโรค มะเร็งเม็ดเลือดขาว ชนิดเฉียบพลัน ใน 10 ปี ประมาณ 1 %

วิธีการรักษาโรค ET

ความเสี่ยงต่ำ

  • ทั้ง พบการกลายพันธุ์ของยีน JAK2 และไม่พบการกลายพันธุ์ของ JAK2 แต่มีปัจจัยความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ใช้ยา แอสไพริน
  • ถ้า ไม่พบการกลายพันธุ์ของยีน JAK2 และไม่มีปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ใช้วิธี คอยสังเกตการณ์ Observation

ความเสี่ยงสูง

  • ผู้ป่วยทุกคน ควรรักษาด้วย Aspirin + Cytoreduction เช่น ไฮดรอกซียูเรีย อินเตอ์เฟอรอน บูลซัลฟาน เป็นต้น

สรุปหัวข้อการประชุม MPN Horizons 2018 ตอนที่ 6

สวัสดีครับ ในตอนที่ 6 นี้ ผมขอพูดถึง โรค ตัวที่ 3 ของ โรค MPN คือ โรค พังผืดในไขกระดูก MF ซึ่งพอที่จะสรุปประเด็นต่างๆได้ดังนี้ครับ

คำจำกัดความของ โรค MF

  • มีความผิดปกติของยีนเดียวในไขกระดูก
  • เกิดพังผืด ทำให้ไขกระดูกมีการสร้างเม็ดเลือดได้น้อยลง
  • อาการ มักมีความสัมพันธ์กับม้ามเป็นส่วนใหญ่
  • ม้ามโต
  • เกิดการสร้างเม็ดเลือดแดงนอกไขกระดูก เช่นที่ ตับ ม้าม หรือกระดูกส่วนอื่น

ระบาดวิทยาและอุบัติการณ์

  • พบได้กับประชากรทั่วไป
  • อายุเฉลี่ย 65 ปี
  • สาเหตของโรคยังไม่ทราบแน่ชัด
  • พบประมาณ 1 ต่อ ประชากร 100000 คน

ความผิดปกติทางห้องปฏิบัติการ

  • พบค่าไม่ปกติของจำนวนเม็ดเลือด
  • ค่า LDH และ acid uric สูง
  • พบความผิดปกติของโครโมโซม
  • พบการกลายพันธุ์ของยีน

สรุปหัวข้อการประชุม MPN Horizons 2018 ตอนที่ 7

สวัสดีครับ ตอนที่ 7 นี้เป็นตอนต่อจากตอนที่ 6 ของโรค MPN ชนิด MF ซึ่งผมขอพูดถึง วิธีการรักษา ที่ทาง Speaker ได้นำเสนอไว้ดังนี้ครับ

การรักษาตามความเสี่ยงของโรค MF

ความเสี่ยงต่ำและความเสี่ยงปานกลางระดับ 1

  • ถ้าไม่มีอาการ ให้ Wait and See คือ คอยติดตามดูจนกว่าจะมีอาการที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาต่อไป
  • ถ้ามีอาการ ให้ รักษาไปตามอาการ ตามที่หมอเห็นสมควรว่าจะรักษาด้วยวิธีใด

ความเสี่ยงปานกลางระดับ 2 และความเสี่ยงสูง

ถ้าไม่เหมาะสมหรือไม่สามารถปลูกถ่ายไขกระดูกได้

  • รักษาตามอาการ ถ้าไม่มีผลตอบสนอง ก็พิจารณาให้ยาในโครงการวิจัยที่ได้รับการอนุมัติแล้ว

ถ้าเหมาะสมและสามารถปลูกถ่ายไขกระดูกได้ ให้หมอดำเนินการปลูกถ่าย

การรักษาตามอาการ ของ โรค MF

การรักษาตามอาการของโรค MF แบ่งเป็น 3 อาการ คือ

  1. กลุ่มอาการที่มีผลต่อระบบต่างๆของร่างกาย (Constitutional Symptoms) เช่น มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ อ่อนล้า เป็นต้น ให้รักษาด้วย ยา คอร์ติโคสตีรอยด์ คือยาที่ใช้ลดอาการบวมและอักเสบของระบบทางเดินหายใจ และ ยายับยั้งยีน JAK2 คือ Ruxolitinib
  2. ภาวะซีด (Anemia) การที่ร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือดน้อยกว่าปกติ ทำให้ รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย หายใจลำบากขณะออกแรง มึนงง ปวดหัว มื้อเท้าเย็น ผิวซีดหรือผิวเหลือง เจ็บหน้าอก ใจสั่น ถ้ารุนแรงทำให้หัวใจทำงานหนักจนหัวใจล้มเหลว ให้รักษาด้วย การฉีดฮอร์โมนอิริโธรโพอิติน เพื่อช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ไขกระดูก การให้ฮอร์โมน Androgens การให้ยากล่อมประสาท ธาลิโดไมด์ บวกกับ ยาคอร์ติโคสตีรอยด์ การให้เลือด (Blood Transfusion)
  3. อาการเกี่ยวกับม้ามโต

ให้รักษาด้วย ยายับยั้งยีน JAK2 Ruxolitinib ยาเคมีบำบัด การตัดม้าม การฉายรังสี ตามที่แพทย์จะพิจารณาเห็นสมควร

สรุปหัวข้อการประชุม MPN Horizons 2018 ตอนที่ 8

สวัสดีครับ 7 ตอนที่ผ่านมา ผมได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ ลักษณะของโรค การระบาดวิทยาและอุบัตการณ์ อาการของโรค วิธีการรักษาของโรค MPN ทั้ง 3 โรค คือ PV/ET/MF มาตอนที่ 8 นี้ผมขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ Secondary Malignancies in MPN ที่ทาง Speaker ได้มีการพูดถึงในที่ประชุมด้วย ดังนี้ครับ

Secondary Malignancies in MPN ก็คือ การตรวจพบโรคมะเร็งอีกชนิดหนึ่งเป็นโรคมะเร็งชนิดที่ 2 ซึ่งไม่เกี่ยวกับโรคมะเร็งที่กำลังรักษาอยู่ไม่ว่าจะเป็นโรค MPN ชนิดไหนก็ตาม แต่เกิดขึ้นเนื่องจากผลของการรักษา ดังนี้ครับ

Established associations ถือว่าเป็นข้อมูลที่เคยค้นพบมาก่อนแล้ว

  • มะเร็งผิวหนังชนิดที่ไม่มีเมลาโนมา ( เกิดกับเนื้อเยื่อบุผิว) เช่น ชนิด basal cell และ squamous cell
  • เกิดจากการรักษาด้วย ยาเคมี ไฮดร๊อกซี่ยูเรีย (Hydroxyurea)

Emerging data ข้อมูลที่พึ่งค้นพบ เป็นข้อมูลใหม่

มะเร็งผิวหนังชนิดไม่มีเมลาโนมา พบว่า

  • ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาและที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยยา ยับยั้งยีน JAK2 คือ Ruxolinib
  • มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นถ้ามีประวัติของอาการทางผิวหนังมาก่อน

มะเร็งชนิดก้อน

  • การศึกษาของเดนมาร์ค ตรวจพบ 15% เมื่อมีการติดตามถึง 10 ปี
  • Series of 2000 patients; lymphoma is increased x 2.8

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดรุนแรง

  • พบ 8% ของผู้ป่วยที่รักษาด้วย ยา Ruxolinib
  • Control group พบเพียง 4%

สรุปหัวข้อการประชุม MPN Horizons 2018 ตอนที่ 9

สวัสดีครับ เมื่อตอนที่ 8 ผมได้พูดถึง มีการตรวจพบ โรคมะเร็งอีกชนิดหนึ่งเป็น ชนิดที่ 2 ที่เกิดกับผู้ป่วย โรค MPN ซึ่งเป็นผลมาจากการรักษาด้วยยาต่างๆ ตอนที่ 9 นี้ผมขอหยิบยกเอาผลการศึกษาของ ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งชนิดที่ 2 ที่เป็นกรณีศึกษาจากผู้ป่วยโรค MPN จำนวน 1259 คน ที่ทาง Speaker สรุปไว้ดังนี้

  • ผู้ป่วยโรค MPN จำนวน 427 คน พบว่า มี โรคมะเร็งชนิดที่ 2
  • ผู้ป่วยโรคเลือดข้น PV มีความเสี่ยงสูงมากกว่า ผู้ป่วยโรคเกล็ดเลือดสูง ET
  • ระยะเวลาที่ป่วย มากกว่า 5 ปี เป็นปัจจัยเสี่ยง
  • ยา Aspirin ช่วยลด ความเสี่ยงของโรคมะเร็งชนิดที่ 2 (non-skin cancers)
  • ยา Hydroxyurea เป็นปัจจัยเสี่ยง สำหรับ non-skin cancers

นอกจากนี้ทาง Speaker ยังได้พูดถึง การขาดธาตุเหล็ก ของ ผู้ป่วย โรคเลือดข้น ไว้ดังนี้

Iron Physiology in PV สรีรวิทยา ของธาตุเหล็กในผู้ป่วย PV

  • เกิดภาวะขาดธาตุเหล็กเป็นเรื่องปกติ
  • มีการสูญเสียเลือดได้ เกิดการไหลเวียนของเลือดที่เพิ่มขึ้นของจำนวนเม็ดเลือดแดง และฮีโมโกลบิน
  • เกิดอาการ เมื่อยล้า กล้ามเนื้อ จิตใจ และ มีอาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ฯลฯ
  • ค่อนข้างยากที่จะจัดการ ทำให้ค่าเฮมาโตคริต Hct หรือ ค่าความเข้มข้นของเลือดสูง

เท่าที่ทราบมา ตอนนี้ ได้มีการทดลองเกี่ยวกับ Harnessing Hepcidin เป็นโปรตีนที่จะนำมาช่วยการขาดภาวะธาตุเหล็ก และลดการเพิ่มจำนวนของเม็ดเลือดแดงที่มากเกินไป ซึ่งได้ผลดีในการทดลองกับหนูทดลองอยู่ครับ

สรุปหัวข้อการประชุม MPN Horizons 2018 ตอนที่ 10

สวัสดีครับ มาถึงตอนที่  10 แล้ว ผมขอสรุป ภาพรวมเกี่ยวกับ โรค MPN ทั้ง 3 โรค คือ โรคเม็ดเลือดแดงสูง PV โรคเกล็ดเลือดสูง ET และ โรคพังผืดในไขกระดูก MF ด้วย ภาพประกอบที่ทาง Speaker ได้นำมาแสดงไว้ ซึ่งเข้าใจได้ง่ายมากครับว่า โรค MPN ชนิดไหน มีโอกาสเกิดภาวะต่างๆดังต่อไปนี้มากนน้อยกว่ากันอย่างไร

การไหลเวียนของเลือดที่เพิ่มขึ้นของเม็ดเลือดแดงและฮีโมโกลบิน (Erythrocytosis) : PV มากที่สุด

ภาวะเกล็ดเลือดมากหรือสูง ไขกระดูกสร้างเกล็ดเลือดมากกว่าปกติ (Thrombocytosis): ET มากที่สุด

ภาวะม้ามโต (Splenomegaly): MF มากที่สุด

พังผืดในไขกระดูก (Fibrosis): MF มากที่สุด

ซึ่งภาวะทั้ง 4 นี้ เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะอาการของโรคต่างๆตามมาคือ

ลิ่มเลือดอุดตัน (Thrombosis หรือ Clot blood ) ถ้ามากกว่า 75 % ก็ทำให้เนื้อตาย และขาดเลือด: PV มากที่สุด

ตกเลือดหรือเลือดออก (Hemorrhage หรือ bleeding) : MF มากที่สุด

กลายเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบมัยอีลอยด์ชนิดเฉียบพลัน (AML) : MF มากที่สุด

สรุปหัวข้อการประชุม MPN Horizons 2018 ตอนที่ 11

สวัสดีครับ   10 ตอนที่ผ่านมา ของการสรุปหัวข้อการประชุมนานาชาติ MPN Horizons 2018 ผมได้พูดถึง ลักษณะของโรค การระบาดวิทยาและอุบัติการ อาการของโรคและผลข้างเคียง วิธีการรักษา รวมทั้งผลการศึกษา ของ โรค MPN ทั้ง 3 โรค คือ โรคเลือดข้น PV โรคเกล็ดเลือดสูง ET และโรค พังผืดในไขกระดูก MF และเชื่อมั่นว่าถ้า ทุกท่านที่ได้เข้ามาอ่านครบทั้ง 10 ตอนแล้ว น่าจะมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรค MPN ทั้ง 3 โรค มากขึ้นกว่าตอนที่ยังไม่ได้เข้ามาอ่านกันนะครับ

ตั้งแต่ตอนที่ 11 นี้เป็นต้นไป ผม อยากจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมในรายละเอียดมากขึ้น ให้มีความเข้าใจมากขึ้น เกี่ยวกับ วิธีการรักษาโรค MPN ซึ่งแพทย์ที่รักษาเราจะพิจารณาตามลักษณะอาการและความรุนแรงของโรค MPN ทั้ง 3 โรคในแต่ละผู้ป่วยเป็นรายๆไปตามความเหมาะสม  ซึ่งมีวิธีการรักษาโรค หลายวิธีดังนี้

การบำบัดด้วยยาเคมี (Chemotherapy)

การลดปริมาณเม็ดเลือดแดง (Phlebotomy)

การให้เลือด (Blood Transfusion)

การฉายรังสี(Radiation)

การตัดม้าม (Splenectomy)

การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell Transplant)

การทดลองทางคลินิก (Clinical Trial)

การรักษาด้วยยายับยั้ง ยีน JAK (Janus Kinase Inhibitor)

ผมขอเริ่มต้นด้วยวิธีการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด เป็นวิธีแรกเลยนะครับสำหรับในตอนที่ 11 นี้

เคมีบำบัด (Chemotherapy)

เคมีบำบัดเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาโรค MPN เพื่อลดการทำงานของไขกระดูก เช่น ยา Hydroxyurea, Chlorambucil, Busulfan เป็นต้น

การรักษาด้วยเคมีบำบัด (chemotherapy) หมายถึง การให้ยาเพื่อทำลายหรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาผู้ป่วยให้หายจากโรคมะเร็งและไม่กลับมาเป็นซ้ำ ควบคุมโรคให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลงหรือไม่โตขึ้น และไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น บรรเทาอาการสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะแพร่กระจาย เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

อย่างไรก็ดี เนื่องจากยาเคมีบำบัดไม่ได้ออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงที่เซลล์มะเร็งเท่านั้น จึงอาจส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติทั่วไปและการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปากอักเสบ เบื่ออาหาร ภูมิต้านทานต่ำ ท้องเสีย ผมร่วง ซึ่งอาการเหล่านี้จะมากหรือน้อยขึ้นกับชนิดของยา ความแข็งแรงของร่างกาย และความพร้อมด้านจิตใจของผู้ป่วย

วิธีการให้เคมีบำบัด

ยาเคมีบำบัดสามารถบริหารเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วยได้หลายวิธี ได้แก่

เคมีบำบัดชนิดรับประทาน ยาเคมีบำบัดบางชนิดอาจไม่สามารถรับประทานได้ เนื่องจากระบบทางเดินอาหารดูดซึมไม่ดี หรือยามีการระคายเคืองระบบทางเดินอาหารมาก ทำให้ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสียได้

เคมีบำบัดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากช่วยให้ยาสามารถกระจายไปทั่วร่างกายได้รวดเร็ว

เคมีบำบัดชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยม เพราะยาทำให้เกิดการระคายเคืองและทำลายผิวหนังและกล้ามเนื้อได้

อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยอาจได้รับยาเคมีบำบัดหลายชนิดร่วมกัน และอาจได้รับเพียงวันเดียวหรือหลายวันติดต่อกัน หรือสัปดาห์ละครั้งก็ได้ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้เลือกสูตรยาและตารางการให้ยาเคมีบำบัดที่เหมาะสมกับชนิดของโรคและสภาพร่างกายของผู้ป่วย

การเลือกใช้ยาเคมีบำบัด

การเลือกใช้ยาเคมีบำบัดที่ถูกต้องทั้งชนิด ปริมาณ และระยะเวลาการให้ยา มีความสำคัญต่อประสิทธิผลของการรักษาโรคมะเร็งเป็นอย่างมาก เนื่องจากยาเคมีบำบัดจัดเป็นยาอันตราย การได้รับยาในปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรง แต่หากได้รับยาในปริมาณที่น้อยเกินไปก็อาจไม่สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้

ในการเลือกสูตรยาเคมีบำบัด แพทย์จะพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ชนิดของมะเร็ง ระยะของมะเร็ง อายุ ภาวะสุขภาพของผู้ป่วย โรคประจำตัว ประวัติการรักษามะเร็งในอดีต ผลข้างเคียง การออกฤทธิ์เสริมหรือต้านฤทธิ์ระหว่างยาเคมีบำบัดเมื่อใช้หลายชนิดร่วมกัน โดยผู้ป่วยอาจได้รับยาเคมีบำบัดเพียงชนิดเดียวหรือหลายชนิด ซึ่งการใช้ยาหลายชนิดร่วมกันจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้ยาเพียงชนิดเดียว

Cr: เจ้าของข้อมูลทุกท่านที่ได้เคยโพสไว้แล้วทางอินเตอร์เนทในเพจต่างๆ

สรุปหัวข้อการประชุม MPN Horizons 2018 ตอนที่ 12

สวัสดีครับ เมื่อตอนที่ 11 ผมได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับ วิธีการรักษาโรค MPN ด้วย ยาเคมีบำบัด ตอนที่ 12 นี้ผมขอต่อด้วยวิธีการรักษาด้วยวิธีการที่เรียกว่าการลดปริมาณเม็ดเลือดแดง และการให้เลือด  มาดูกันนะครับ

การลดปริมาณเม็ดเลือดแดง (Phlebotomy)

Bloodletting (or blood-letting) – phlebotomy ส่วนใหญ่จะใช้ในความหมายเดียวกัน แต่หากดูตามตัวศัพท์แล้ว bloodletting เป็นคำที่กว้างกว่า เรียกรวมวิธีต่างๆ ในการนำ(หลั่ง)เลือดออกจากร่างกายในขณะที่คำว่า

phlebotomy มาจาก   phleps (gen. phlebos) – “vein” + -tomia -“cutting of,” from tome “a cutting”

จึงหมายถึงการ (หลั่งเลือดด้วยการ) เจาะแทงหลอดเลือดดำ  ปัจจุบัน จัดเป็นศัพท์ทางการแพทย์ – phlebotomy ที่หมายถึงการดูดเลือดเพื่อนำไปส่งห้องแล็บวิเคราะห์ หรือการให้เลือด ส่วน  Therapeutic phlebotomy นั้นเป็นการดึงเลือดออกเพื่อลดปริมาณเม็ดเลือดแดงในร่างกาย ใช้สำหรับรักษาเฉพาะบางโรค เช่น โรคเลือดข้น PV เป็นต้น

การให้เลือด (Blood Transfusion)

การให้เลือดเป็นวิธีรักษาทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยที่สูญเสียเลือดหรือมีปริมาณเลือดไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งเป็นภาวะอันตรายที่ต้องได้รับเลือดทดแทน การให้เลือดมีความสำคัญ ขั้นตอน และความเสี่ยงใดบ้าง ผู้ป่วยและผู้ใกล้ชิดควรศึกษาไว้เพื่อเตรียมพร้อมก่อนเข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้

จุดประสงค์ของการให้เลือด

การให้เลือดมีจุดประสงค์หลักเพื่อทดแทนเลือดที่สูญเสียไปเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุร้ายแรง การผ่าตัดใหญ่ เช่น การผ่าตัดบายพาสหัวใจ รวมถึงผู้ที่มีโรคหรือภาวะเจ็บป่วยดังต่อไปนี้

ผู้ที่มีการติดเชื้อรุนแรง เป็นโรคตับ โรคไต หรือโรคต่าง ๆ ที่ทำให้กระบวนการผลิตเลือดของร่างกายบกพร่อง

ผู้ที่มีภาวะเลือดออก เช่น เลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือเลือดออกหลังคลอดบุตร

ผู้ที่มีความผิดปกติของระบบเลือด เช่น โรคธาลัสซีเมีย โรคโลหิตจางแบบซิกเคิลเซลล์ (Sickle Cell Anemia) โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) เป็นต้น

ผู้ที่มีภาวะเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย เช่น ภาวะโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก หรือภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

ผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจาง เนื่องจากการใช้ยาหรือการทำรังสีบำบัด

ผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับไขกระดูกบางชนิด ซึ่งทำให้ร่างกายได้รับเลือดไม่เพียงพอ

สรุปหัวข้อการประชุม MPN Horizons 2018 ตอนที่ 13

สวัสดีครับ 2 ตอนที่แล้ว ผมได้นำข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการรักษาโรค MPN คือ การให้ยาเคมีบำบัด การลดปริมาณเม็ดเลือดแดง และ การให้เลือด ในตอนที่ 13 นี้ ขอต่อด้วย วิธีการฉายรังสี  ลองอ่านดูนะครับ

การรักษาด้วยการฉายรังสี (Radiation)

การรักษาโรคมะเร็งประกอบด้วยวิธีการรักษาหลายวิธี เช่น การฉายรังสี การผ่าตัด ยาเคมีบำบัดและการรักษาด้วยฮอร์โมน เป็นต้น ซึ่งอาจจะให้การรักษาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือใช้หลายวิธีร่วมกัน ในกรณีที่จำเป็นต้องมีการรักษาด้วยการฉายรังสี ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลโดยรังสีแพทย์ แพทย์จะอธิบายถึงบทบาทของรังสีรักษา ข้อดี-ข้อเสีย และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการรักษาและภายหลังจากเสร็จสิ้นการรักษา

วิธีการของการรักษาด้วยรังสีเป็นอย่างไร

รังสีรักษาจะทำลายสารพันธุกรรมภายในเซลล์มะเร็งและทำให้เซลล์มะเร็งได้รับความเสียหายหรือตายไป ร่างกายจะกำจัดเซลล์เหล่านี้ออกจากร่างกาย ในขณะเดียวกันเซลล์ปกติก็ได้รับผลกระทบจากรังสีด้วย แต่เซลล์ปกติเหล่านี้มีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองได้ดีกว่าเซลล์มะเร็ง ปัจจุบันเทคนิคการฉายรังสีพัฒนาไปมาก แพทย์รังสีรักษาสามารถกำหนดตำแหน่งของการฉายรังสีไปยังก้อนมะเร็งได้อย่างแม่นยำ โดยเนื้อเยื่อปกติโดยรอบได้ปริมาณรังสีน้อยมาก

วัตถุประสงค์ของการรักษาด้วยรังสีในโรคมะเร็งและเนื้องอกต่างๆ ได้แก่

เพื่อกำจัดเนื้องอกที่ยังไม่มีการกระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

เพื่อลดความเสี่ยงของการกำเริบหลังการผ่าตัด หรือให้ยาเคมีบำบัด โดยสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งที่หลงเหลืออยู่แต่มองไม่เห็นได้

เพื่อลดขนาดของเนื้องอกก่อนการผ่าตัด

ลดอาการต่างๆ ที่เกิดจากก้อนเนื้องอก และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต ซึ่งการรักษาแบบนี้จะเรียกว่า การรักษาแบบประคับประคอง หรือการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ เช่น การฉายรังสีเพื่อลดอาการปวดจากก้อนเนื้องอกไปกด หรือ การฉายรังสีเพื่อลดขนาดของก้อนที่ทำให้หอบเหนื่อย

ผู้ป่วยบางรายอาจกลัวว่าการฉายรังสีจะทำให้เกิดมะเร็งชนิดอื่นตามมาหลังการรักษา แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตามหลังการรักษาด้วยรังสีนั้นน้อยมาก เมื่อเทียบกับประโยชน์ของการรักษาเพื่อให้หายขาดจากโรคมะเร็ง ซึ่งมีประโยชน์และสำคัญมากกว่า

สรุปหัวข้อการประชุม MPN Horizons 2018 ตอนที่ 14

สวัสดีครับ ในตอนที่แล้วผมได้นำข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการรักษาด้วยการฉายแสง ในตอนที่ 14 นี้ ผมขอนำเสนออีกหนึ่งวิธีซึ่งแพทย์อาจจะพิจารณาทำการรักษาผู้ป่วยโรค MPN ในกลุ่มโรคพังผืดในไขกระดูก MF คือ การผ่าตัดม้าม

การผ่าตัดม้าม( Splenectomy)

ม้ามเป็นอวัยวะ, ซึ่งตั้งอยู่ในส่วนบนด้านซ้ายของช่องท้อง, ภายใต้ซี่โครงหลังกระเพาะอาหาร. ม้าม มันกรองเลือด, เพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย, ปรสิตและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ, ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ. มันยังสร้างความเสียหายเซลล์เม็ดเลือด.

การตัดม้ามใช้ในการรักษาความหลากหลายของโรคและความผิดปกติ:

ได้รับบาดเจ็บที่ม้าม;

ม้ามแตกเนื่องจากเนื้องอก, การติดเชื้อ, โรคอักเสบหรือยารักษาโรค;

ม้ามโต

บางความผิดปกติของเลือด;

myelofibrosis (การก่อตัวที่ผิดปกติของเนื้อเยื่อในไขกระดูก)

ความเสียหายให้กับหลอดเลือดของม้าม;

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง;

โรคม้ามเนื่องจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน, เช่น การติดเชื้อเอชไอวี;

เนื้องอกหรือฝีของม้าม;

โรคตับ.

ปัจจุบันการผ่าตัดส่องกล้องเป็นวิธีการผ่าตัดที่รุกล้ำต่ออวัยวะต่างๆน้อยกว่าวิธีอื่นโดยใช้ในการวินิจฉัยหรือรักษาโรคและภาวะต่างๆ ขณะทำการผ่าตัดส่องกล้องจะใช้กล้องที่เรียกว่าแลปปาโรสโคป(laparoscope)ซึ่งเป็นท่อเล็กๆที่มีกล้องและแหล่งกำเนิดแสงในตัวใส่เข้าไปในร่างกายผ่านรอยแผลผ่าตัดที่มีขนาดเล็กมาก และเครื่องมือผ่าตัดก็สามารถใส่ผ่านกล้องแลปปาโรสโคปเพื่อเข้าไปตัดและซ่อมแซมเนื้อเยื่อได้ จึงเรียกการผ่าตัดแบบนี้ว่าการผ่าตัดผ่านรูกุญแจ(keyhole surgery) การผ่าตัดส่องกล้องนี้จะฟื้นตัวได้รวดเร็วและง่ายกว่าการผ่าตัดเปิดหน้าท้องแบบปกติ

การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อการวินิจฉัย การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อการวินิจฉัยจะทำเพื่อช่วยวินิจฉัยโรคหรือภาวะบางอย่างได้แก่

ตรวจหาเนื้องอก สุ่มตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจ ตรวจอวัยวะต่างๆ เช่น ไส้ติ่ง, ตับ, ถุงน้ำดี, ตับอ่อน, ม้าม และกระเพาะอาหาร

ตรวจหามะเร็งที่กระจายไปส่วนอื่นของร่างกาย

สรุปหัวข้อการประชุม MPN Horizons 2018 ตอนที่ 15

สวัสดีครับ ตอนที่แล้ว ได้นำเสนอเรื่อง การตัดม้าม ในตอนที่ 15 นี้ ผมขอให้ข้อมูลเกี่ยวกับ วิธีการรักษาโรค MPN ด้วยวิธีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งผู้ป่วย โรค MPN ทั้ง 3 โรค คือ PV , ET และ MF ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องหรือผลการตอบสนองของการรักษาไม่ได้ผลและกลายเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน หรือเรียกสั้นๆว่า AML แล้วแพทย์อาจจะพิจารณาใช้วิธีการรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด

การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell) ในอดีตเรียกว่าการปลูกถ่ายไขกระดูก เป็นวิธีหนึ่งในการรักษาโรคเลือดบางชนิด เช่น โรคไขกระดูกฝ่อ ไขกระดูกทำงานผิดปกติ และมะเร็งระบบเลือดต่างๆ ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูกระบวนการสร้างเม็ดเลือดในร่างกาย

ชนิดของการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell)

การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของตนเอง (autologous stem cell transplantation)

การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของผู้บริจาค (allogenic stem cell transplantation) ซึ่งสามารถมีแหล่งของผู้บริจาคได้ต่างๆ ดังนี้

ผู้บริจาคเป็นพี่น้องท้องเดียวกัน ที่มีลักษณะพันธุกรรมจากการตรวจ (human leukocyte antigen: HLA) เข้ากันได้ 100% (match-related donor)

ผู้บริจาคที่มี HLA ไม่ตรงกับผู้รับ 100% (mismatch donor)

ผู้บริจาคที่ไม่ใช่พี่น้องของผู้รับ แต่มี HLA ที่เข้ากันได้ 100% (match-unrelated donor)

ผู้บริจาคมี HLA ที่เข้ากันได้กับผู้รับเพียงครึ่งเดียว (haploidentical donor) ส่วนใหญ่ผู้บริจาคมักเป็นพี่น้องท้องเดียวกัน หรือพ่อแม่ลูก

แหล่งของเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell)

เราสามารถเก็บแยกเซลล์ต้นกำเนิดได้จาก ไขกระดูก กระแสเลือด และรกของเด็กแรกเกิด

โรคหรือภาวะที่สามารถรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell)

การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของตนเอง สามารถใช้ในการรักษา

มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด multiple myeloma

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (lymphoma)

มะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia)

โรคภูมิคุ้มกันผิดปกติบางชนิดที่มีความรุนแรงมาก จนการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล

วิธีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell)

ก่อนเข้ารับการรักษา ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินความพร้อมและเตรียมตัว โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม รวมถึงแผนการรักษาก่อนการปลูกถ่าย ไม่ว่าจะเป็นการให้ยาเคมีบำบัดและ/หรือการฉายแสง

เมื่อเริ่มการรักษา ผู้ป่วยจะต้องนอนพักรักษาตัวในห้องปลอดเชื้อแบบพิเศษ เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ จากนั้นผู้ป่วยจะได้รับยาเคมีบำบัดและ/หรือการฉายแสงเพื่อทำลายเซลล์ที่ผิดปกติในร่างกาย (มีผลต่อเซลล์ปกติอื่นๆ ด้วย) เมื่อได้รับยาเคมีบำบัดและ/หรือการฉายแสงแล้ว ผู้ป่วยจะได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดทางหลอดเลือดดำใหญ่ โดยช่วงเวลาที่เหลือจะเป็นการพักฟื้นให้ไขกระดูกหรือเซลล์ต้นกำเนิดทำงาน ระยะนี้ผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

ภาวะติดเชื้ออย่างรุนแรงจากภูมิต้านทานต่ำในช่วงของการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด

ภาวะร่างกายต่อต้านเซลล์ต้นกำเนิดที่ได้รับ ซึ่งมักพบในผู้ป่วยที่ได้รับเซลล์ต้นกำเนิดจากผู้บริจาค หรือเกิดภาวะร่างกายปฏิเสธเซลล์ต้นกำเนิดที่ได้รับ ซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย ผลจากการได้รับยาเคมีบำบัดขนาดสูง ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย และอาจมีอันตรายถึงชีวิต

Cr: ต้องขอขอบคุณแหล่งข้อมูลต่างๆด้วยนะครับ

สรุปหัวข้อการประชุม MPN Horizons 2018 ตอนที่ 16

การวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก ( Clinical trials)

คือชุดของกระบวนการในการวิจัยทางการแพทย์และการพัฒนายาที่ทำขึ้นเพื่อประเมินข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย (รวมทั้งผลไม่พึงประสงค์จากยาและผลข้างเคียงของวิธีการรักษา) และประสิทธิภาพของเครื่องมือต่างๆ ในการให้บริการสุขภาพ (เช่น ยา การตรวจ อุปกรณ์ วิธีการรักษา ฯลฯ) การวิจัยจะเริ่มขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้มีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการศึกษาที่ไม่ใช่ทางคลินิกจนได้ข้อมูลที่น่าพอใจแล้ว และผ่านการรับรองขององค์กรจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง

ในการทำวิจัยเช่นนี้ผู้วิจัยจะรวบรวมอาสาสมัครทั้งที่มีสุขภาพปกติและ/หรือป่วยด้วยภาวะที่สนใจเข้ามาศึกษาในการวิจัยนำร่องขนาดเล็กก่อน จากนั้นจึงเริ่มการวิจัยขนาดใหญ่ต่อไป ส่วนใหญ่ทำโดยเปรียบเทียบของใหม่กับของเก่าที่ใช้อยู่ เมื่อศึกษาพบว่ามีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพแล้ว การวิจัยลำดับถัดไปจะเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมการวิจัยให้มากขึ้น การวิจัยเช่นนี้มีขนาดแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเหมาะสม อาจทำในศูนย์วิจัยแห่งเดียวหรือหลายศูนย์หลายประเทศพร้อมๆ กัน ก็มี

การตัดสินใจเข้าร่วมการทดลองทางคลินิกอาจเป็นเรื่องที่น่ากลัว แต่ก็สามารถเปิดประตูการรักษาต่างๆที่ปิดไว้ได้ หากคุณสนใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองทางคลินิกให้พูดคุยกับแพทย์เพื่อหาคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

สรุปหัวข้อการประชุม MPN Horizons 2018 ตอนที่ 17

การรักษาด้วยยายับยั้ง จานัสไคเนส อินฮิบิเตอร์ (Janus kinase inhibitor)

ยาจานัสไคเนส อินฮิบิเตอร์(Janus kinase inhibitor ย่อว่า JAK inhibitor อีกชื่อคือ Jakinib) เป็นกลุ่มยาที่ใช้ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ JAK1, JAK2, JAK3 และ TYK2 กลไกการออกฤทธิ์ที่สำคัญคือ การรบกวนและยับยั้งเส้นทางการส่งและแปลสัญญาณจากกลุ่มเอนไซม์จานัสไคเนสที่มีความผิดปกติเข้าสู่นิวเคลียสภายในเซลล์ ยากลุ่มนี้จึงทำให้การทำงานของเซลล์กลับมาเป็นปกติ และส่งผลให้อาการโรคทุเลาลง

ยาจานัสไคเนส อินฮิบิเตอร์ ถูกจัดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

  1. กลุ่มที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและมีใช้ทางการแพทย์แล้ว เช่น

Ruxolitimib มีกลไกยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ JAK1 (JAK1 inhibitor) และ JAK2 (JAK2 inhibitor) ใช้บำบัดรักษา โรคพังผืดในไขกระดูก(Myelofibrosis) และ ภาวะ/โรคเลือดหนืดเนื่องจากเม็ดเลือดแดงมากผิดปกติ(Polycythemia vera) บางสถานพยาบาลอาจนำมาใช้รักษาโรคสะเก็ดเงิน(Psoriasis) และโรคข้อรูมาตอยด์(Rheumatoid arthritis)

Tofacitinib ออกฤทธิ์รบกวนการทำงานของ JAK3 (JAK3 inhibitor) ทางคลินิก ใช้รักษาโรคสะเก็ดเงิน และโรคข้อรูมาตอยด์

Oclacitinib ออกฤทธิ์ต่อต้าน JAK1 ถูกนำไปใช้รักษาอาการผิวหนังอักเสบของสุนัข

  1. กลุ่มยาที่อยู่ระหว่างการวิจัยพัฒนา: ยาจานัสไคเนส อินฮิบิเตอร์ หลายรายการที่รอการสรุปคุณประโยชน์ทางเภสัชวิทยา อาทิ ขนาดรับประทาน ภาวะยาตีกัน/ปฏิกิริยาระหว่างยา ตลอดจนกระทั่งภาวะแทรกซ้อน(ผลข้างเคียง)ที่อาจจะเกิดขึ้นและรอการนำมาใช้ได้อย่างจริงจังในอนาคต เช่น Baricitinib, Filgotinib, Gandotinib, Lestaurtinib, Momelotinib, Pacritinib, Upadacitinib, Peficitinib, และ Fedratinib

ยาจานัสไคเนส อินฮิบิเตอร์ มียาชื่อการค้า และบริษัทผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย เช่น

  • Jakavi (จาคาวี ) บริษัทผู้ผลิต คือ Novartis
  • Xeljanz (เซลจานซ์) บริษัทผู้ผลิด คือ Pfizer

Cr: ต้องขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบและข้อมูลบางส่วนมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

สรุปหัวข้อการประชุม MPN Horizons 2018 ตอนที่ 18

สวัสดีครับ ตั้งแต่ตอนที่ 11 ถึง ตอนที่แล้วคือ ตอนที่ 17 ผมได้นำข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการรักษาโรค 8 วิธี สำหรับใช้ในการรักษา MPN ทั้ง 3 โรค ซึ่งทางแพทย์ที่รักษาผู้ป่วยแต่ละโรคจะเป็นผู้พิจารณาตามอาการและความรุนแรงของโรคว่า วิธีรักษาแบบใหนบ้างที่จะเหมาะสม ในตอนที่ 18 นี้ ผมขอให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ยาที่ใช้รักษา ที่ทาง Speaker ได้นำเสนอในที่ประชุมครั้งนี้ และ ขอเริ่มต้นด้วย ยา อินเตอร์เฟอรอน ก่อนนะครับ

ทาง Speaker เริ่มต้นด้วยการนำเสนอว่า อินเตอร์เฟอรอน คือ อะไร What are Interferons?

อินเตอร์เฟอรอน (Interferon, IFN) คือ โปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อกำจัดเชื้อโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อไวรัส ปัจจุบันมีการนำเอาอินเตอร์เฟอรอนมาใช้เป็นยาเพื่อการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ – บีและโรคไวรัสตับอักเสบ – ซีชนิดเรื้อรัง ซึ่งยาอินเตอร์เฟอรอนมีผลทั้ง ฆ่าไวรัสและควบคุมระดับภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของผู้ป่วย พบว่าผู้ป่วยทั้ง 2โรคที่ตอบสนองต่อการรักษามีอุบัติการณ์การเกิดตับวายลดลง การเกิดมะเร็งตับปฐมภูมิ (มะเร็งที่เกิดจากเซลล์อวัยวะนั้นๆไม่ใช่เกิดจากการแพร่กระจายมาจากอวัยวะอื่น) ลดลง และมีอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้นเมื่อ เทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา

ยาอินเตอร์เฟอรอนซึ่งมีเฉพาะรูปแบบยาฉีดในปัจจุบันมี 2 ชนิดคือ Conventional Interferon (Conventional IFN) และ Pegylated Interferon (Peg-IFN) ซึ่งได้รับการปรับปรุงให้ออกฤทธิ์ได้นานมากขึ้น โดยยาฉีดชนิด Conventional IFN จะต้องบริหารยาสัปดาห์ละ 3 ครั้งหรือทุกวัน ส่วน Peg-IFN จะบริหารยาเพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้งมีผลข้างเคียงของยาที่ลดลงและมีผลการ รักษาที่ดีกว่า จึงทำให้ Peg-IFN เป็นที่นิยมมากกว่า Conventional IFN ข้อดีของการรักษาด้วย Conventional IFN หรือ PEG-IFN คือ ไม่เกิดเชื้อไวรัสตับอักเสบที่ดื้อยา ส่วนข้อเสียคือ ยามีราคาแพงและที่สำคัญคือ ยามีผลข้างเคียงมาก

Interferon (IFN) เป็นกลุ่มของโปรตีน มี 3 ชนิด คือ

– interferon alpha ได้จาก leucocyte และ lymphoblastoid cells

– interferon beta ได้จาก fibroblast

– interferon gamma ได้จาก T lymphocyte

ยากลุ่มอินเตอร์เฟอรอน(Interferonย่อว่า IFN)ที่มีทั้งหมด 3 ชนิด (แอลฟา/IFN alpha , เบต้า/IFN beta, และแกมมา/IFN gamma) มีกลไกการออกฤทธิ์ที่คาบเกี่ยวกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเพิ่มภูมิต้านทานต่อเชื้อโรค และยับยั้งการแบ่งตัวของแบคทีเรีย หรือชะลอการแพร่พันธุ์ของไวรัส ยาอินเตอร์เฟอรอน แอลฟา และเบต้า จะมีกลไกเข้าจับกับตัวรับ(Receptor)บนผิวของเซลล์ในร่างกายที่ตำแหน่งแอลฟา(Alpha receptor)และเบต้า(Beta receptor) และถูกเรียกว่า “Type 1 interferon”

ขณะที่อินเตอร์เฟอรอน แกมมา มีการเข้าจับกับ ตัวรับที่แตกต่างออกไป จึงเรียกว่าเป็น “Type 2 interferon”

IFN จัดเป็น lymphokines ตัวหนึ่งที่มีผลปรับปรุงภูมิคุ้มกันระบบ CMIR เช่น เพิ่ม microphage activity เพิ่ม cytotoxicity ของ macrophage และ NK cell เพิ่มการสร้าง antibody ของ B cell เป็นต้น

การใช้อินเตอร์เฟียรอนสำหรับรักษาโรค MPN นั้น พบว่ามีการรายงานครั้งแรกกว่า 30 ปีมาแล้ว ผลการตอบสนองทางคลีนิคก็มีปรากฏอยู่ แต่ความเป็นพิษยังอยู่ในวงจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคพังผืดในไขกระดูก MF ผลการตอบสนองทางชีววิทยา ระดับโมเลกุล และ ไขกระดูก ก็มีอยู่เช่นกันแต่ไม่คงที่ ผลการศึกษาระยะที่ 2  จำนวน 3 กรณีที่ประสบความสำเร็จ ก็มีการรายงาน สำหรับการติดตามต่อเนื่อง 5 ปี (สำหรับอินเตอร์เฟียรอนชนิด PEG และ Ropeg)

ความเป็นพิษของการรักษาด้วยยา อินเตอร์เฟียรอน เช่น มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ มีภาวะซืมเศร้า ปรากฏการณ์ภูมิต้านทานผิดปกติ มีความเป็นพิษที่  ตับ ปอด เส้นประสาทส่วนปลาย เป็นต้น

Credit: ต้องขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลบางส่วน

สรุปหัวข้อการประชุม MPN Horizons 2018 ตอนที่ 19

สวัสดีครับ ตอนที่ 18 ผมได้นำข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ยาที่ใช้รักษาโรค MPN คือ ยา อินเตอร์เฟียรอน IFN ในตอนที่ 19 นี้ ผมขอเอาข้อมูลเพิ่มเติม ของยา รักโซลิทินิบ Ruxolitinib อีกหนึ่งตัวที่ทาง Speaker นำเสนอและพูดถึงกันมากในที่ประชุม มาโพสไว้ดังนี้ครับ

ยารักโซลิทินิบ(Ruxolitinib หรือ Ruxolitinib phosphate) เป็นยาในกลุ่มจานัสไคเนส อินฮิบิเตอร์ (Janus kinase inhibitor, ยาต้านการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของตัวรับต่างๆ) ได้รับการขึ้นทะเบียนในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ.2011 (พ.ศ.2554) ทางคลินิกใช้ยานี้รักษาอาการโรคมัยอีโลไฟโบรซิส/โรคไขกระดูกเป็นพังผืด(Myelofibrosis)ซึ่งลักษณะอาการ ของผู้ป่วยจะมีพังผืดเกิดขึ้นในไขกระดูก มีเกล็ดเลือดลดลง เกิดภาวะม้ามโต ปวดกระดูก ตับโต อ่อนเพลีย กรดยูริคในเลือดสูง มีภาวะติดเชื้อง่ายเช่น ปอดบวม มีภาวะหายใจ ไม่ค่อยสะดวกด้วยเกิดโลหิตจาง ผู้ป่วยบางรายจะมีปริมาตรของเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น หรือเกิดอาการทางผิวหนังปูดเป็นปม/เป็นก้อนเนื้อขึ้นมา นอกจากนี้ทางการแพทย์ยังใช้ยารักโซลิทินิบ รักษาอาการผู้ป่วยที่มีภาวะเม็ดเลือดแดงมากผิดปกติหรือที่เรียกว่า โรคเลือดหนืด(Polycythemia vera)

ยารักโซลิทินิบที่จำหน่ายในประเทศไทย มีเภสัชภัณฑ์เป็นยารับประทาน ตัวยาสามารถถูกดูดซึมจากระบบทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือดได้ 95% ตับจะเป็นอวัยวะที่คอยเปลี่ยนแปลงและทำลายโครงสร้างของยารักโซลิทินิบ ตัวยาชนิดนี้ต้องใช้เวลา 2.8–3 ชั่วโมงในการสลายตัว ก่อนที่จะถูกกำจัดทิ้งไปกับปัสสาวะ(74%) และอุจจาระ(22%)

ทั้งนี้ มีข้อพึงระวังหรือคำเตือนที่แพทย์จะแนะนำให้กับผู้ป่วยเพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความร่วมมือสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นขณะที่ใช้ยาชนิดนี้ เช่น

ยารักโซลิทินิบ สามารถทำให้เกิด ภาวะโลหิตจาง เกล็ดเลือดต่ำ จนทำให้มีภาวะ            เลือดออกง่ายตามมา ดังนั้นก่อนสั่งจ่ายยาชนิดนี้ แพทย์จะทำการตรวจร่างกายของผู้ป่วยเพื่อประเมินความสมบูรณ์ของเลือด(การตรวจเลือดซีบีซี)ในเบื้องต้นและใช้เป็นข้อมูลสำหรับปรับขนาดรับประทาน

ยารักโซลิทินิบอาจทำให้มีภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำ ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อโรคต่างๆได้ง่ายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น แบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส ดังนั้นหากพบอาการคล้ายกับมีการติดเชื้อในระหว่างที่ได้รับยาชนิดนี้ ผู้ป่วยจะต้องรีบเข้ามาพบแพทย์/มาโรงพยาบาลโดยเร็วเพื่อแพทย์ปรับแนวทางการรักษา

ยาชนิดนี้ มีการกำจัดทิ้งออกจากร่างกายโดยผ่านตับและไต เพื่อความมั่นใจว่ายา รักโซลิทินิบปลอดภัยกับตัวผู้ป่วย แพทย์ต้องขอตรวจเลือดดูการทำงานของ ตับ ไต กรณีพบว่าอวัยวะดังกล่าวมีความผิดปกติ แพทย์จะปรับขนาดการรับประทานยานี้ลดลงในสัดส่วนที่เหมาะสม

คณะกรรมการอาหารและยาของไทยได้กำหนดให้ยารักโซลิทินิบเป็นยาควบคุมพิเศษ ต้องมีคำสั่งจ่ายยาจากแพทย์ มีการจำหน่ายภายใต้ชื่อการค้าว่า Jakavi และจะพบเห็น การใช้ยาชนิดนี้แต่ในสถานพยาบาลเท่านั้น

Credit: ต้องขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร

สรุปหัวข้อการประชุม MPN Horizons 2018 ตอนที่ 20

สวัสดีครับ เมื่อ 2 ตอนที่แล้ว ผมได้นำเอาข้อมูลเพิ่มเติมของยาอินเตอร์เฟียรอน และ ยารักโซลิทินิบ ที่ใช้รักษาโรค MPN ทั้ง 3 โรค มาโพสไว้ในข้อสรุปหัวข้อการประชุม ในตอนที่ 20 นี้ ผมคิดว่าน่าจะนำเอาข้อมูลเพิ่มเติมของยาไฮดรอกซียูเรีย ซึ่งเป็นยาเก่าแก่ดั้งเดิม ที่ทางแพทย์นำมาใช้รักษาโรคมะเร็งหลากหลายชนิด รวมทั้ง โรค MPN โดยเฉพาะโรคเลือดข้น PV

ไฮดรอกซียูเรีย (Hydroxyurea)

ยาไฮดรอกซียูเรีย (Hydroxyurea) หรือมีชื่อการค้าในประเทศไทยว่า ไฮเดรีย (Hydrea) เป็นยาเคมีบำบัดชนิดรับประทาน ยาถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งได้หลายชนิดเช่น มะเร็งในระบบศีรษะและคอ, มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา, มะเร็งรังไข่ นอกจากนี้ ยาไฮดรอกซียูเรียยังถูกนำมาใช้ควบคู่กับรังสีรักษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งในระบบศีรษะและลำคอ, ในมะเร็งปากมดลูก, โรคมะเร็งทางระบบโลหิตวิทยาเช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวเอเอ็มแอลชนิดเฉียบพลัน (Acute Myeloid Leukemia: AML) อีกทั้งยายังถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคทางโลหิตวิทยา/โรคเลือดอื่นๆเช่น ภาวะโลหิตจางชนิด Sickle Cell Anemia, ภาวะปริมาณเม็ดเลือดขาวอิโอซิโนฟิลล์สูง (Hypereosinophilic syndrome) หรือภาวะเม็ดเลือดแดงข้น/โรคเลือดหนืด (Polycythemia Vera: ภาวะเลือดข้นที่เกิดจากความผิดปกติของไขกระดูกโดยตรง)

เนื่องจากยาไฮดรอกซียูเรียมีข้อบ่งใช้หลายประการ ขนาดยาและวิธีการบริหารยาจึงแตก ต่างกันออกไป ดังนั้นการใช้ยาไฮดรอกซียูเรียจึงควรอยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์ผู้ให้การรักษา ผู้ป่วยที่ได้รับยาก็ควรให้ความใส่ใจในการใช้ยาและติดตามอาการไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง) ที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด

ยาไฮดรอกซียูเรียมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

ไฮดรอกซียูเรีย

ยาไฮดรอกซียูเรียมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้สำหรับการรักษามะเร็งที่ตอบสนองต่อยาเช่น มะ เร็งผิวหนังเมลาโนมา, มะเร็งของเม็ดเลือดขาวบางชนิด และมะเร็งรังไข่ที่ย้อนกลับมาเป็นซ้ำใหม่ (Recurrent ovary cancer) หรือในระยะที่โรคแพร่กระจายจนไม่สามารถผ่าตัดรักษาได้

ยาไฮดรอกซียูเรียยังสามารถใช้ร่วมกับรังสีรักษาเพื่อรักษาควบคุมมะเร็งในระบบศีรษะและลำคอและมะเร็งปากมดลูก

นอกจากนี้ยาไฮดรอกซียูเรียยังมีข้อบ่งใช้สำหรับรักษาภาวะเม็ดเลือดแดงข้น/โรคเลือดหนืด

ยาไฮดรอกซียูเรียมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

กระบวนการออกฤทธิ์เพื่อต้านมะเร็งของยาไฮดรอกซียูเรียยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีสมมติ ฐานว่ายาไฮดรอกซียูเรียจะยับยั้งการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ (DNA) ของเซลล์มะเร็ง

สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ยาไฮดรอกซียูเรียร่วมกับรังสีรักษาในมะเร็งระบบศีรษะและลำคอ สันนิษฐานว่ายาไฮดรอกซียูเรียจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของรังสีรักษาในการฆ่าเซลล์มะเร็ง โดยมีผลให้กระบวนการซ่อมแซมปกติของเซลล์มะเร็งถูกทำลาย เซลล์มะเร็งจึงตายสูงขึ้นเมื่อใช้ยานี้ร่วมกับรังสีรักษา

Credit: ต้องขอขอบคุณเจ้าของข้อมูล ภก.วิชญ์ภัทร ธรานนท์