สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกทุกท่าน เมื่อตอนที่แล้ว ผมได้พูดถึงการรักษาโรคเลือดข้น ซึ่งมีหลายวิธีและ การถ่ายเลือด หรือ Phlebotomy ก็เป็นวิธีหนึ่งที่คุณหมอจะเลือกใช้ในการรักษาให้กับผู้ป่วย ซึ่งผมขอนำเอาเรื่องราวของเพื่อนสมาชิกในห้องไลน์ชมรมฯของเราที่ได้เล่าประสบการณ์ที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้ที่ผมว่ามีประโยชน์และน่าจะนำมาพูดให้เพื่อนๆสมาชิกได้เห็นภาพที่ชัดเจนถึงการรักษาด้วยวิธีนี้

“การถ่ายเลือด Phlebotomy บางคนเรียกว่า blood letting เป็นวิธีรักษาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงน้อย มีอาการของโรคไม่มาก หรือระยะเริ่มต้นเมื่อพบความผิดปกติของเลือดครับ หมอจะสั่ง 300-450 cc ขึ้นกับความเสี่ยงและภาวะของเม็ดเลือดครับ
ผมมีประสบการณ์ที่ไม่ค่อยดีนักกับการทำ phlebotomy เมื่อตอนเริ่มเป็นใหม่ๆ(10 ปีก่อน) ตอนนั้นทำทุกๆ2อาทิตย์ หลังจากหมอวินิจฉัยแล้วว่าเป็นผู้ป่วย PV หรือ ET สิ่งแรกๆที่หมอสั่งคือให้ยาต้านเกล็ดเลือดพร้อมกับการทำ phlebotomy โดยเฉพาะผู้ป่วย PV หมอจะสั่งให้ทำบ่อยกว่า ET เนื่องจากผู้ป่วย ET อาจมีปัญหาฮีโมโกลบินต่ำเกินไปหากทำบ่อยครั้ง
เข็มที่ใช้มี 2 แบบ
แบบแรกคือเข็มเหล็กขนาดเท่าๆกับหลอดดูดยาคูลท์ ปลายเป็นปากฉลาม
อีกแบบคือเข็มพลาสติก ขนาดใหญ่กว่าเข็มเหล็กนิดหน่อย
ส่วนใหญ่ รพ.เอกชนหรือ รพ. รัฐบาลขนาดเล็กที่ไม่มีแผนกรับบริจาคเลือด เรามีโอกาสได้เจอพยาบาลที่ขาดประสบการณ์ เทคนิคการเจาะเลือดไปตรวจผลในห้องแล็ปโดยใช้หลอดเข็มฉีดยาเล็กๆกับการเจาะเลือดทิ้งนั้นแตกต่างกันมาก ผลก็จะเป็นแบบนี้
พยาบาลก็มักจะอ้างว่าเป็นเพราะเลือดเราข้นเกินไป มันจึงออกมาช้าแล้วก็แข็งตัว(clot) เสียก่อน ต้องเจาะใหม่…….เราได้แต่กัดฟันกรอดๆๆๆๆ ถูกซ้ำเติมอีกว่าเป็นเพราะโรคของเรา”

แหมกำลังน่าติดตามเลยใช่ไหมครับ ขอฝากติดตามต่อในตอนต่อไปนะครับ
Cr. ขอขอบคุณเรื่องราวของคุณบูรชัย ด้วยครับ
#mpn #mpnthailand