สวัสดีครับ เพื่อนๆสมาชิกทุกท่าน ผมขอเอาภาคต่อจากตอนที่แล้วเกี่ยวกับการอัพเดทการจัดกลุ่มโรค MPNs ของ WHO 2016 มานำเสนอดังนีครับ
“ตัวอย่างของการรับข้อมูลเก่าที่คลาดเคลื่อนคือเรื่องยาที่ใช้ หากเราไปหาข้อมูลเก่าๆจะพบว่ายาคีโมที่สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยก่อนการจัดกลุ่มใหม่นั้นมีหลายชนิด เช่น Hydroxyurea, Bulsulfan และ Chlorambucil
Chlorambucil ใช้ในผู้ป่วย ลูคีเมีย และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ส่วน Busulfan ใช้คล้ายกันและใช้กับผู้ป่วยก่อนการเปลี่ยนถ่ายสเต็มเซลล์ ทั้ง 2 ตัวนี้เป็นยาคีโมที่ถูกแนะนำให้ใช้ในกลุ่ม Myeloproliferative Disorders เดิมไม่ใช่ MPNs
หลังการจัดกลุ่มใหม่ ทำให้มีความชัดเจนเรื่องการใช้ยามากขึ้น Hydroxyurea เป็นยาเดียวในกลุ่ม Chemotherapy ที่ใช้ได้กับ MPNs
นอกนั้นจะเป็น Interferon ซึ่งเป็นกลุ่ม Targeted therapy และ Jakafi ที่เป็นกลุ่ม Jak Inhibitor เพียงตัวเดียวที่ได้รับการรับรอง
หากเราทำความเข้าใจกับกลุ่มของยา กลุ่มของโรคให้เข้าใจเสียก่อน การรับข้อมูลข่าวสารต่อๆไปจะทำให้เรามีความเข้าใจถูกต้องไม่คลาดเคลื่อน
ในเอกสารมีการอธิบายถึงชนิดของยีนที่กลายพันธุ์ไว้เป็นแผนภาพแบบให้เข้าใจง่ายๆ
เปอร์เซ็นต์ของการเกิดการกลายพันธุ์จากยีน Jak2 ในชนิดต่างๆของ MPNs
เปอร์เซ็นต์ของยีนกลายพันธุ์ชนิดอื่นๆที่มีผลต่อ Jak2
การกลายพันธุ์ CALR มีผลต่อ ET และ MF มากกว่า PV
ยีนกลายพันธุ์อื่นๆที่พบน้อย
ยาที่แนะนำให้ใช้ก่อนการใช้ Jakafi (jak2 inhibitor)
Jak2 เป็นยาเดียวในกลุ่ม inhibitor ที่ได้รับการรับรองจาก FDA ที่ใช้ได้ในกลุ่ม MPNs
มียาหลายชนิดที่เป็น Jak1/2/3 inhibitor ที่ FDA รับรองแต่ สำหรับ MPNs มีเพียงตัวเดียวเท่านั้นที่ใช้ได้
จะเห็นว่าการผิดปกติของยีนอื่นที่ไม่ใช่ Jak2 สามารถมีผลกระตุ้นการส่งสัญญาณที่ Jak2 ได้ เช่น CALR,MPL เป็นต้น
นอกจาก Jak2 CALR เป็นยีนกลายพันธุ์ที่ทำให้เกิด ET และ MF
ฉะนั้นหากหมอเพียงแค่ตรวจ CBC แล้วบอกว่าเกล็ดเลือดสูง คนป่วยอาจจะไม่ได้เป็น ET หมอต้องขอเจาะไขกระดูก หรือเจาะเลือดเพื่อดูชนิดและปริมาณของการกลายพันธุ์ด้วย เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง”
Cr. ข้อมูลดีๆจากคุณบูรชัยที่นำมาแบ่งปัน