Month: October 2018

เก็บมาเล่า…เอามาฝาก

สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชมรมผู้ป่วยโรค MPN ประเทศไทยและผู้สนใจทุกท่าน เก็บมาเล่า…เอามาฝาก วันนี้ผมขอนำเอาภาพกิจกรรมบางส่วนที่ทาง เพื่อนกรรมการท่านหนึ่งของชมรมผู้ป่วย CML ประเทศไทย ได้มีโอกาสไปร่วม การประชุมประจำปีของคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในหัวข้อ “เล่าสู่กันฟัง..แบ่งปันประสบการณ์ ผู้ป่วยโรคเลือด” เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2561 มาโพสไว้ในห้องไลน์ชมรมของผู้ป่วย CML ซึ่งผมเองก็เป็นผู้ป่วย CML และเป็นกรรมการของชมรมผู้ป่วย CML คนหนึ่งด้วย ผมจึงอยากนำเอาภาพบรรยากาศของการประชุมสัมนามาให้เพื่อนๆสมาชิกชมรมผู้ป่วยโรค MPN ได้มีโอกาสรับรู้ด้วยเพราะ การประชุมที่มหาลัยขอนแก่นนี้ มีการพูดถึง…

สรุปหัวข้อการประชุม MPN Horizons 2018 ตอนที่ 20

สวัสดีครับ เมื่อ 2 ตอนที่แล้ว ผมได้นำเอาข้อมูลเพิ่มเติมของยาอินเตอร์เฟียรอน และ ยารักโซลิทินิบ ที่ใช้รักษาโรค MPN ทั้ง 3 โรค มาโพสไว้ในข้อสรุปหัวข้อการประชุม ในตอนที่ 20 นี้ ผมคิดว่าน่าจะนำเอาข้อมูลเพิ่มเติมของยาไฮดรอกซียูเรีย ซึ่งเป็นยาเก่าแก่ดั้งเดิม ที่ทางแพทย์นำมาใช้รักษาโรคมะเร็งหลากหลายชนิด รวมทั้ง โรค MPN โดยเฉพาะโรคเลือดข้น PV และ โรคเกล็ดเลือดสูง ET ไฮดรอกซียูเรีย (Hydroxyurea) ยาไฮดรอกซียูเรีย…

สรุปหัวข้อการประชุม MPN Horizons 2018 ตอนที่ 19

สวัสดีครับ ตอนที่ 18 ผมได้นำข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ยาที่ใช้รักษาโรค MPN คือ ยา อินเตอร์เฟียรอน IFN ในตอนที่ 19 นี้ ผมขอเอาข้อมูลเพิ่มเติม ของยา รักโซลิทินิบ Ruxolitinib อีกหนึ่งตัวที่ทาง Speaker นำเสนอและพูดถึงกันมากในที่ประชุม มาโพสไว้ดังนี้ครับ ยารักโซลิทินิบ(Ruxolitinib หรือ Ruxolitinib phosphate) เป็นยาในกลุ่มจานัสไคเนส อินฮิบิเตอร์ (Janus kinase inhibitor,…

สรุปหัวข้อการประชุม MPN Horizons 2018 ตอนที่ 18

สวัสดีครับ ตั้งแต่ตอนที่ 11 ถึง ตอนที่แล้วคือ ตอนที่ 17 ผมได้นำข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการรักษาโรค 8 วิธี สำหรับใช้ในการรักษา MPN ทั้ง 3 โรค ซึ่งทางแพทย์ที่รักษาผู้ป่วยแต่ละโรคจะเป็นผู้พิจารณาตามอาการและความรุนแรงของโรคว่า วิธีรักษาแบบใหนบ้างที่จะเหมาะสม ในตอนที่ 18 นี้ ผมขอให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ยาที่ใช้รักษา ที่ทาง Speaker ได้นำเสนอในที่ประชุมครั้งนี้ และ ขอเริ่มต้นด้วย ยา อินเตอร์เฟอรอน ก่อนนะครับ…

สรุปหัวข้อการประชุม MPN Horizons 2018 ตอนที่ 17

การรักษาด้วยยายับยั้ง จานัสไคเนส อินฮิบิเตอร์ (Janus kinase inhibitor) ยาจานัสไคเนส อินฮิบิเตอร์(Janus kinase inhibitor ย่อว่า JAK inhibitor อีกชื่อคือ Jakinib) เป็นกลุ่มยาที่ใช้ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ JAK1, JAK2, JAK3 และ TYK2 กลไกการออกฤทธิ์ที่สำคัญคือ การรบกวนและยับยั้งเส้นทางการส่งและแปลสัญญาณจากกลุ่มเอนไซม์จานัสไคเนสที่มีความผิดปกติเข้าสู่นิวเคลียสภายในเซลล์ ยากลุ่มนี้จึงทำให้การทำงานของเซลล์กลับมาเป็นปกติ และส่งผลให้อาการโรคทุเลาลง ยาจานัสไคเนส อินฮิบิเตอร์ ถูกจัดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่…

สรุปหัวข้อการประชุม MPN Horizons 2018 ตอนที่ 16

การวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก ( Clinical trials) คือชุดของกระบวนการในการวิจัยทางการแพทย์และการพัฒนายาที่ทำขึ้นเพื่อประเมินข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย (รวมทั้งผลไม่พึงประสงค์จากยาและผลข้างเคียงของวิธีการรักษา) และประสิทธิภาพของเครื่องมือต่างๆ ในการให้บริการสุขภาพ (เช่น ยา การตรวจ อุปกรณ์ วิธีการรักษา ฯลฯ) การวิจัยจะเริ่มขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้มีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการศึกษาที่ไม่ใช่ทางคลินิกจนได้ข้อมูลที่น่าพอใจแล้ว และผ่านการรับรองขององค์กรจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง ในการทำวิจัยเช่นนี้ผู้วิจัยจะรวบรวมอาสาสมัครทั้งที่มีสุขภาพปกติและ/หรือป่วยด้วยภาวะที่สนใจเข้ามาศึกษาในการวิจัยนำร่องขนาดเล็กก่อน จากนั้นจึงเริ่มการวิจัยขนาดใหญ่ต่อไป ส่วนใหญ่ทำโดยเปรียบเทียบของใหม่กับของเก่าที่ใช้อยู่ เมื่อศึกษาพบว่ามีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพแล้ว การวิจัยลำดับถัดไปจะเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมการวิจัยให้มากขึ้น การวิจัยเช่นนี้มีขนาดแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเหมาะสม อาจทำในศูนย์วิจัยแห่งเดียวหรือหลายศูนย์หลายประเทศพร้อมๆ กัน ก็มี การตัดสินใจเข้าร่วมการทดลองทางคลินิกอาจเป็นเรื่องที่น่ากลัว แต่ก็สามารถเปิดประตูการรักษาต่างๆที่ปิดไว้ได้ หากผู้ป่วยสนใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองทางคลินิกให้พูดคุยกับแพทย์เพื่อหาคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับคุณ Cr: ต้องขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบและข้อมูลบางส่วนมา…

สรุปหัวข้อการประชุม MPN Horizons 2018 ตอนที่ 15

สวัสดีครับ ตอนที่แล้ว ได้นำเสนอเรื่อง การตัดม้าม ในตอนที่ 15 นี้ ผมขอให้ข้อมูลเกี่ยวกับ วิธีการรักษาโรค MPN ด้วยวิธีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งผู้ป่วย โรค MPN ทั้ง 3 โรค คือ PV , ET และ MF ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องหรือผลการตอบสนองของการรักษาไม่ได้ผลและกลายเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน หรือเรียกสั้นๆว่า AML แล้วแพทย์อาจจะพิจารณาใช้วิธีการรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell)…

สรุปหัวข้อการประชุม MPN Horizons 2018 ตอนที่ 14

สวัสดีครับ ในตอนที่แล้วผมได้นำข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการรักษาด้วยการฉายแสง ในตอนที่ 14 นี้ ผมขอนำเสนออีกหนึ่งวิธีซึ่งแพทย์อาจจะพิจารณาทำการรักษาผู้ป่วยโรค MPN ในกลุ่มโรคพังผืดในไขกระดูก MF คือ การผ่าตัดม้าม การผ่าตัดม้าม( Splenectomy) ม้ามเป็นอวัยวะ, ซึ่งตั้งอยู่ในส่วนบนด้านซ้ายของช่องท้อง, ภายใต้ซี่โครงหลังกระเพาะอาหาร. ม้าม มันกรองเลือด, เพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย, ปรสิตและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ, ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ. มันยังสร้างความเสียหายเซลล์เม็ดเลือด. การตัดม้ามใช้ในการรักษาความหลากหลายของโรคและความผิดปกติ: ได้รับบาดเจ็บที่ม้าม; ม้ามแตกเนื่องจากเนื้องอก, การติดเชื้อ, โรคอักเสบหรือยารักษาโรค; ม้ามโต บางความผิดปกติของเลือด;…

สรุปหัวข้อการประชุม MPN Horizons 2018 ตอนที่ 13

สวัสดีครับ 2 ตอนที่แล้ว ผมได้นำข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการรักษาโรค MPN คือ การให้ยาเคมีบำบัด การลดปริมาณเม็ดเลือดแดง และ การให้เลือด ในตอนที่ 13 นี้ ขอต่อด้วย วิธีการฉายรังสี ลองอ่านดูนะครับ การรักษาด้วยการฉายรังสี (Radiation) การรักษาโรคมะเร็งประกอบด้วยวิธีการรักษาหลายวิธี เช่น การฉายรังสี การผ่าตัด ยาเคมีบำบัดและการรักษาด้วยฮอร์โมน เป็นต้น ซึ่งอาจจะให้การรักษาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือใช้หลายวิธีร่วมกัน ในกรณีที่จำเป็นต้องมีการรักษาด้วยการฉายรังสี ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลโดยรังสีแพทย์ แพทย์จะอธิบายถึงบทบาทของรังสีรักษา ข้อดี-ข้อเสีย และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการรักษาและภายหลังจากเสร็จสิ้นการรักษา…