สวัสดีครับ ตั้งแต่ตอนที่ 11 ถึง ตอนที่แล้วคือ ตอนที่ 17 ผมได้นำข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการรักษาโรค 8 วิธี สำหรับใช้ในการรักษา MPN ทั้ง 3 โรค ซึ่งทางแพทย์ที่รักษาผู้ป่วยแต่ละโรคจะเป็นผู้พิจารณาตามอาการและความรุนแรงของโรคว่า วิธีรักษาแบบใหนบ้างที่จะเหมาะสม ในตอนที่ 18 นี้ ผมขอให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ยาที่ใช้รักษา ที่ทาง Speaker ได้นำเสนอในที่ประชุมครั้งนี้ และ ขอเริ่มต้นด้วย ยา อินเตอร์เฟอรอน ก่อนนะครับ
ทาง Speaker เริ่มต้นด้วยการนำเสนอว่า อินเตอร์เฟอรอน คือ อะไร What are Interferons?
อินเตอร์เฟอรอน (Interferon, IFN) คือ โปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อกำจัดเชื้อโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อไวรัส ปัจจุบันมีการนำเอาอินเตอร์เฟอรอนมาใช้เป็นยาเพื่อการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ – บีและโรคไวรัสตับอักเสบ – ซีชนิดเรื้อรัง ซึ่งยาอินเตอร์เฟอรอนมีผลทั้ง ฆ่าไวรัสและควบคุมระดับภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของผู้ป่วย พบว่าผู้ป่วยทั้ง 2โรคที่ตอบสนองต่อการรักษามีอุบัติการณ์การเกิดตับวายลดลง การเกิดมะเร็งตับปฐมภูมิ (มะเร็งที่เกิดจากเซลล์อวัยวะนั้นๆไม่ใช่เกิดจากการแพร่กระจายมาจากอวัยวะอื่น) ลดลง และมีอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้นเมื่อ เทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา
ยาอินเตอร์เฟอรอนซึ่งมีเฉพาะรูปแบบยาฉีดในปัจจุบันมี 2 ชนิดคือ Conventional Interferon (Conventional IFN) และ Pegylated Interferon (Peg-IFN) ซึ่งได้รับการปรับปรุงให้ออกฤทธิ์ได้นานมากขึ้น โดยยาฉีดชนิด Conventional IFN จะต้องบริหารยาสัปดาห์ละ 3 ครั้งหรือทุกวัน ส่วน Peg-IFN จะบริหารยาเพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้งมีผลข้างเคียงของยาที่ลดลงและมีผลการ รักษาที่ดีกว่า จึงทำให้ Peg-IFN เป็นที่นิยมมากกว่า Conventional IFN ข้อดีของการรักษาด้วย Conventional IFN หรือ PEG-IFN คือ ไม่เกิดเชื้อไวรัสตับอักเสบที่ดื้อยา ส่วนข้อเสียคือ ยามีราคาแพงและที่สำคัญคือ ยามีผลข้างเคียงมาก
Interferon (IFN) เป็นกลุ่มของโปรตีน มี 3 ชนิด คือ
– interferon alpha ได้จาก leucocyte และ lymphoblastoid cells
– interferon beta ได้จาก fibroblast
– interferon gamma ได้จาก T lymphocyte
ยากลุ่มอินเตอร์เฟอรอน(Interferonย่อว่า IFN)ที่มีทั้งหมด 3 ชนิด (แอลฟา/IFN alpha , เบต้า/IFN beta, และแกมมา/IFN gamma) มีกลไกการออกฤทธิ์ที่คาบเกี่ยวกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเพิ่มภูมิต้านทานต่อเชื้อโรค และยับยั้งการแบ่งตัวของแบคทีเรีย หรือชะลอการแพร่พันธุ์ของไวรัส ยาอินเตอร์เฟอรอน แอลฟา และเบต้า จะมีกลไกเข้าจับกับตัวรับ(Receptor)บนผิวของเซลล์ในร่างกายที่ตำแหน่งแอลฟา(Alpha receptor)และเบต้า(Beta receptor) และถูกเรียกว่า “Type 1 interferon”
ขณะที่อินเตอร์เฟอรอน แกมมา มีการเข้าจับกับ ตัวรับที่แตกต่างออกไป จึงเรียกว่าเป็น “Type 2 interferon”
IFN จัดเป็น lymphokines ตัวหนึ่งที่มีผลปรับปรุงภูมิคุ้มกันระบบ CMIR เช่น เพิ่ม microphage activity เพิ่ม cytotoxicity ของ macrophage และ NK cell เพิ่มการสร้าง antibody ของ B cell เป็นต้น
การใช้อินเตอร์เฟียรอนสำหรับรักษาโรค MPN นั้น พบว่ามีการรายงานครั้งแรกกว่า 30 ปีมาแล้ว ผลการตอบสนองทางคลีนิคก็มีปรากฏอยู่ แต่ความเป็นพิษยังอยู่ในวงจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคพังผืดในไขกระดูก MF ผลการตอบสนองทางชีววิทยา ระดับโมเลกุล และ ไขกระดูก ก็มีอยู่เช่นกันแต่ไม่คงที่ ผลการศึกษาระยะที่ 2 จำนวน 3 กรณีที่ประสบความสำเร็จ ก็มีการรายงาน สำหรับการติดตามต่อเนื่อง 5 ปี (สำหรับอินเตอร์เฟียรอนชนิด PEG และ Ropeg)
ความเป็นพิษของการรักษาด้วยยา อินเตอร์เฟียรอน เช่น มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ มีภาวะซืมเศร้า ปรากฏการณ์ภูมิต้านทานผิดปกติ มีความเป็นพิษที่ ตับ ปอด เส้นประสาทส่วนปลาย เป็นต้น
Credit: ต้องขอขอบคุณเจ้าของภาพและข้อมูลบางส่วนมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ