Month: July 2023

วิตามิน D กับโรค MPNs

วิตามิน D กับโรค MPNs ในอดีตที่ผ่านมามีข้อสงสัยว่า คนเป็น MPNs ควรได้รับวิตามิน D เสริมหรือไม่ ความจริงคือ คนเป็น MPN ส่วนใหญ่ มักขาดวิตามิน D หากได้ตรวจ แต่ความสงสัยที่ยังไม่ได้พิสูจน์แน่ชัดคือ วิตามิน D เป็นสารกระตุ้นให้เกิดการกลายพันธุ์มากขึ้น นำไปสู่การพัฒนาของโรคหรือไม่ ในอดีตมีทั้งงานวิจัยที่สนับสนุนให้เสริมวิตามิน D และงานวิจัยที่คัดค้านว่าวิตามิน D อาจจะทำให้เร่งการพัฒนาของโรคเร็วขึ้น บทความนี้ก็ไม่ได้ชี้แนะว่า ผู้ป่วยควรรับวิตามิน D…

อาการคันใน MPNs

อาการคันเมื่อสัมผัสกับน้ำ Aquagenic Pruritus (AP) เป็นสิ่งที่พบมากกว่าอาการคันที่ไม่ได้สัมผัสน้ำในผู้ป่วย MPNs การศึกษาในผู้ป่วย MPN 500 คน พบว่า ผู้อาการคันแบบ AP มีโอกาสเกิดการพัฒนาของโรคไปเป็น AML หรือ MF ได้มากกว่าผู้ป่วยที่มีอาการคันแบบ non-AP ruxolitinib และ hydroxyurea คือยาที่สามารถลดอาการคันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนๆสมาชิกสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามลิงค์นี้นะครับ CR: the owner of data และขอขอบคุณ…

ผลไม้(grapefruit) มีปฎิกริยาต่อยาหลายชนิด

ผลไม้ที่มีสาร Furanocoumarins เช่น grapefruit, pomelo (ส้มโอ) มีปฎิกริยาต่อยาหลายชนิด เป็นผลไม้ที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ใช้ยาลดเม็ดเลือด ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ยาลดคลอเรสเตอรอล และยาอื่นๆอีกมาก ยาที่ใช้กับผู้ป่วย MPN มีปฎิกริยาต่อสารนี้อย่างมากคือ interferon ,ruxolitinib , xarelto,plavix ยาลดคลอเรสเตอรอล statins ส่วน hydrea กำลังมีการศึกษาเรื่องนี้อยู่ แต่ที่ผ่านมาไม่พบหลักฐานที่ชี้ชัดว่าสารนี้มีผลต่อ hydrea ลักษณะของผลไม้ที่มีสารนี้มากมีลักษณะคล้ายส้ม ที่มีเปลือกหนา มีรสฝาดเปรี้ยว เช่น เกรปฟรุต…

การศึกษาถึงอัตราการเกิดเลือดอุดตันชนิดที่เกิดเป็นลิ่มเลือด

มีบทความที่น่าสนใจ ตีพิมพ์เมื่อ 7/07/2023 สองวันที่ผ่านมา เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2007-2019 จากผู้ป่วย PV 82,960 คน ซึ่งเป็นฐานข้อมูลจำนวนมาก เป็นการศึกษาถึงอัตราการเกิดเลือดอุดตันชนิดที่เกิดเป็นลิ่มเลือดก่อน แล้วเกิดอุดตันในหลอดเลือดของอวัยวะ เรียกว่า Thromboembolism อุบัติการณ์นี้มีชื่อเรียกว่า Thromboembolic events (TE) พบว่า ผู้ใช้เพียง Hydroxyurea(HU) เพียงอย่างเดียวตลอดระยะเวลาการรักษาจำนวน 3,852 คน มีอัตราการเกิด TE ลดลงในช่วงแรก แต่เพิ่มขึ้นในภายหลัง ที่ใช้…