สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชมรมฯทุกท่าน ในตอนที่ 10 นี้ ผมขอเล่าถึง หัวข้อทางด้าน medical session ที่ทาง Speaker ได้นำเสนอเกี่ยวกับ State of play across the globe: No standard guidelines for MPN ซึ่งผมขอเริ่มต้นด้วยการพูดถึงข้อดี ข้อเสีย ของ การมีหลักเกณฑ์หรือแนวทางในการรักษา ดังนี้ครับ
ข้อเสีย
– อาจจะไม่ทันสมัยแล้ว
– อาจจะส่งเสริมให้ทำตามสูตรอย่างเดียว
– อาจจะไม่สะท้อนความเป็นจริงถึง วิธีการรักษาที่มีอยู่ในท้องถื่นนั้น เช่น ประชาชนที่อยู่ในที่ราบสูง ซึ่งมีค่า Hb ที่สูงกว่า
ข้อดี
– สามารถใช้เป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์
– แต่ควรครอบคลุมข้อมูลทั้งหมด
– ควรปรับปรุงมาตราฐานโดยรวมของการปฏิบัติ
– สามารถใช้อ้างอิงทางการประเมินเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข
ทาง Speaker ได้พูดถึงภาวการณ์ปัจจุบัน ของ หลักเกณฑ์หรือ แนวทาง การรักษา ทั่วโลก ยังไม่มี มาตราฐานที่ชัดเจน และ มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เช่น ของ ELN ในครั้งแรก ปี 2011 มีการปรับใหม่ ในปี 2018 ดังนี้
– มีหลักเกณฑ์ใหม่ สำหรับการวินิจฉัย
– เริ่มค่า Hb ที่ต่ำลงกว่า สำหรับ โรค เลือดข้น PV
– เพิ่ม จีโนม หรือ กลุ่มยีนตัวใหม่ๆ
– ความเท่าเทียมกันของ การให้ยา อินเตอร์เฟอรอน และ ไฮดร๊อกซี่ยูเรีย
– ความไม่สอดคล้องกันระหว่าง NCCN และ ESMO ที่เกี่ยวกับ การให้ยากลุ่ม Ruxolitinib ใน ผู้ป่วยโรคพังผืดในไขกระดูก MF

สิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ ต้องมีการพูดคุย และ ร่วมมือกันของ ทุกสถาบันหรือองค์กรต่างๆที่มีส่วนในการกำหนดแนวทางการรักษา ไม่ว่าจะเป็นสถาบันทาง ประเทศแถบ ยุโรป หรือ อเมริกา รวมทั้ง องค์กรเครือข่ายที่มาจาก ผู้ให้การสนับสนุนผู้ป่วย และ กลุ่มผู้ป่วย เพื่อให้ได้มาซึ่ง มาตราฐานการกำหนดแนวทางการรักษาที่ทันสมัยและมีคุณภาพมากที่สุด #mpn