สรุปประเด็นสำคัญของการประชุม MPN Horizons 2023 ตอน 6

PV Treatment การรักษาเลือดข้น

ในการรักษามีจุดประสงค์เพื่อลดจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ร่างกายผลิตออกมามากผิดปกติและป้องกันการเกิดลิ่มเลือด รวมถึงบรรเทาอาการต่าง ๆ จากภาวะเลือดข้น เช่น ปวดศีรษะ ตาพร่า เห็นภาพซ้อน เป็นต้น โดยแพทย์จะมีแนวทางในการรักษาดังต่อไปนี้

การถ่ายเลือด (Phlebotomy)

วิธีการจะคล้ายกับการบริจาคเลือด แพทย์หรือพยาบาลจะใช้เข็มเจาะที่เส้นเลือดบริเวณแขนแล้วถ่ายเลือดออกจากร่างกาย เพื่อกำจัดเซลล์เม็ดเลือดที่มีจำนวนมากเกินไป โดยจะรักษาทุกสัปดาห์ หากอาการดีขึ้นจะลดลงเหลือทุก ๆ 6–12 สัปดาห์ หรือน้อยกว่านั้น จนกว่าผู้ป่วยจะมีระดับความเข้มข้นของเลือดลดลงไปจากเดิมประมาณ 45% ผู้ป่วยอาจรู้สึกเหนื่อยหรือเมื่อยล้าหลังการถ่ายเลือด และเส้นเลือดอาจได้รับความเสียหายหากมีการถ่ายเลือดหลายครั้ง

การใช้ยา

เมื่อผู้ป่วยมีระดับความเข้มข้นของเลือดลดลงแล้ว แพทย์อาจจะให้รับประทานยาเพื่อชะลอการทำงานของไขกระดูกในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง

ยาไฮดรอกซียูเรีย (Hydroxyurea) เป็นยาที่ใช้ในการรักษาและชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในร่างกาย หรือใช้ในการป้องกันและรักษาผู้ที่มีภาวะม้ามโต ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนของภาวะเลือดข้น อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องเสีย มีผื่นคัน เป็นต้น

ยาอินเตอร์เฟอรอนอัลฟ่า (Interferon-Alpha) เป็นยาที่ใช้ชะลอการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้จากการใช้ยา เช่น มีไข้ หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น

ยาแอสไพริน (Aspirin) เป็นยาต้านเกร็ดเลือด ช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด รวมถึงอาจช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ เช่น อาการแสบร้อนที่มือและเท้า อาการคัน อาการปวด เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาแอสไพรินเพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้จากการใช้ยาเป็นประจำทุกวัน เช่น เลือดออกมาก โดยเฉพาะในกระเพาะอาหาร หรือส่วนอื่น ๆ ของระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น

Speaker ได้นำเสนอ การรักษาโรคเลือดข้น PV ด้วยการแบ่งลำดับของความเสี่ยง ดังนี้

ความเสี่ยงต่ำ อายุน้อยกว่า 60 ปี และไม่มีภาวะลิ่มเลือดอุดตัน :

รักษาด้วยยา แอสไพริน + การถ่ายเลือดออก และ Ropeginterferon

ความเสียงสูง อายุมากกว่า 60 ปี มีภาวะลิ่มเลือดอุดตัน :

รักษาด้วย ยาแอสไพริน + การถ่ายเลือดออก + cytoreduction เช่น ยา Hydroxyuria เป็นต้น

ความเสี่ยงสูงมาก และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา Hydroxyuria :

รักษาด้วยยา Ruxolitinib หรือ ถ้าอายุน้อยกว่า 65 ปี รักษาด้วย ยา Interferon แต่ถ้าอายุมากกว่า 65 ปี ใช้ยา Busalfan

อนึ่ง ถ้ารักษาด้วย ยาแอสไพริน แล้วเกิดอาการไม่ตอบสนอง ดื้อยา และ เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด พิจารณาเพิ่มการทานยาแอสไพริน เป็น 2 ครั้งต่อวัน

Cr: Speaker and the owner of data