MPN SPRING SYMPOSIUM 2021 : May 27-28, 2021
EP3: สรุปประเด็นที่สำคัญ ตอนที่ 3
สวัสดีครับเพื่อนสมาชิกและผู้สนใจทั่วไปทุกท่านครับ เมื่อตอนที่ 2 ผมได้พูดถึง Prof. Heinz จากประเทศออสเตรีย ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกการใข้ ยา Interferon จนมาเป็น ยา Ropeginterferon ที่มีประสิทธิภาพดีต่อการรักษาผู้ป่วยโรคเลือดข้น PV
ต่อมา Prof. V ได้กล่าวถึง ยา Ruxolitinib ไว้อย่างน่าสนใจ เขาพูดว่า ยาตัวนี้ ถูกใช้ในอเมริกามาแล้วประมาณ 10 ปี สามารถควบคุมอาการและลดขนาดของม้ามได้ดี ปริมาณที่ควรใช้เริ่มต้นคือ ครั้งละ 10 มก 2 ครั้งต่อวันและหากใช้ต่อเนื่องไม่มีความจำเป็นต้องใช้มากกว่านี้ เพราะจะเจอผลข้างเคียงคือ Anemia ภาวะซีด เม็ดเลือดแดงต่ำในช่วงแรกของการใช้ยา และ เกิด thrombocytopenia เกล็ดเลือดต่ำ เป็นเหตุต้องหยุดยา ต้องขออธิบายเพิ่มเติม คือ dose ของยาที่บริษัทผลิตมา มี 10, 15, 20, 25 มก แต่ Prof. V บอกว่า ไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะให้เกิน 10 มก/ครั้ง (20 มก/วัน)
ผมนึกถึงครั้งที่ Prof. V ออกมาบอกหลายปีก่อน เป็นคนแรกของโลกเลย ว่า Pegasys ควรเริ่มต้นที่ mcg ซึ่งสมัยก่อนก็เป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่ามันไม่น้อยไปหรือ ขวดหนึ่งมี 90 บ้าง 180 บ้าง แล้วที่เหลือจะทิ้งหรือ ทำอย่างไร ขวดละ 15,000-20,000 บาทในต่างประเทศ(หากไม่มีประกันไว้) เนื่องจากเป็นยา ที่ให้โดยไม่ต้องสนใจว่าน้ำหนักตัวเท่าไร ให้เท่ากันหมดทุกคน ซึ่งต่างจาก conventional interferon ก่อนหน้านี้ก็ให้กันมากน้อยตามอาการและค่าเลือด แต่ปัจจุบัน หมอเกือบทุกคนรวมทั้งหมอไทยที่ติดตาม Prof. V และงานวิจัยของเขาให้เริ่มต้น 45 mcg จนเป็นมาตรฐานสากลไปแล้ว ไม่ว่าจะด้วยอาการหนักขนาดใหน ให้เริ่มที่ 45 mcg ผู้ป่วยเริ่มรู้จักและติดตามงานของ Prof.V ตั่งแต่นั้นมา
กลับมาที่ยา Ruxolitinib การที่จะใช้ ยาตัวนี้มากกว่า 10 มก/ครั้ง ก็เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต เช่นต้องการลดขนาดของม้ามอย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มเป็น 15 หรือ 25 มกจนขนาดม้ามกลับมาปกติแต่เสี่ยงต่อผลข้างเคียง
Prof. V ยังได้พูดถึงอุปสรรคที่มีในการรักษาโรคพังผืดในไขกระดูก MF เขาพูดประมาณ 3-4 อย่างแต่มีอยู่ 2 อย่างที่เขาเน้นคือ Anemia และ Blast เขาก็อธิบายไปตามตำราที่เราทราบกันว่า กี่ % เป็นระยะใด
Prof.V พูดถึงยาลำดับ 2 คือ Fedratinib สั้นๆว่ามีบทบาทเป็นเพียงยาแทน เท่านั้น เพราะไม่ได้มีความแตกต่างไปจากยา Ruxolitinib อาการข้างเคียงก็ยังคงเหมือนกัน
ขอจบตอนที่ 3 ไว้เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ ในตอนต่อไป Prof. V ได้พูดถึงยาตัวใหม่ 3 ตัวที่เป็นความหวังทั้งหมดของยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคพังผืดในไขกระดูก MF คอยติดตามด้วยนะครับ
CR: เจ้าของภาพ และคุณบูรชัยที่ร่วมกันสรุปข้อมูลจากการประชุมครั้งนี้ด้วยครับ