MPN SPRING SYMPOSIUM 2021 : May 27-28, 2021
EP2: สรุปประเด็นที่สำคัญ ตอนที่ 2
สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกฯและผู้สนใจทั่วไป ในตอนที่ 2 นี้ จะเป็นการสรุปประเด็นในช่วงบ่ายของวันแรกของการประชุมนะครับ เริ่มด้วยการพูดถึงความสำเร็จของ ยา Ropeginterferon ซึ่ง Prof. Heinz เป็นหมอคนแรกๆที่ยืนยันว่า การใช้ อินเตอร์เฟอรอน มีข้อดี ต่อ โรคเลือดข้น PV และใช้มานานต่อเนื่อง เขาเห็นยา อิมาตินิบ Imatinib ที่สามารถลดปริมาณเซล์มะเร็งให้อยู่ในระดับภาวะโรคสงบ Remission ในผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบมัยอีลอยด์ หรือ CML ตอนนั้นยาในกลุ่มโรค MPNs ยังไม่มีอะไรที่ทำได้ใกล้เคียง จึงได้คิดหายาที่จะให้ผลใกล้เคียงกับ ยา Imatinib
คุณหมอเป็นคนที่ทำการทดลองยา Ropeginterferon จนได้รับการรับรองใน EU เขาว่ามันเป็นความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ที่สุดในวงการโรค MPN ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา และยังกล่าวถึงคุณสมบัติในการป้องกันไวรัส ว่ายานี้ถูกใช้ในการทดลองยาสำหรับ covid-19
Speaker คนที่ 2 ก็พูดเกี่ยวกับการทดลองยา อินเตอร์เฟอรอน แต่ไม่ได้กล่าวว่าเป็น Ropeginterferon แต่เดาว่าเขาคงหมายถึง Ropeginterferon ว่า ภายใน 2 ปีแรก allele burden ลดลงต่ำกว่า 10% ในผู้ป่วยโรคเลือดข้น PV และหากใช้ยาต่อไปจนครบ 5 ปี บางคนเกิด complete molecular remission ยานี้เมื่อลด allele burden ได้แล้ว สามารถหยุดยาได้ และกลับมาใช้ต่อได้เมื่อค่าเลือดสูงขึ้น
Speaker คนที่ 3 พูดถึงการใช้ยา Ropeginterferon ในหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเลือดข้น PV ได้ผลดีมาก แม้จะใช้กับผู้ป่วยเสี่ยงสูง เหมือนที่เคยใช้ในโรค multiple sclerosis ปลอกประสาทเสื่อม หมอบอกว่า การใช้ในการตั้งครรภ์ ผู้ป่วยควรเริ่มยาก่อนการตั้งครรภ์ระยหนึ่ง เพราะยาออกฤทธิ์ช้า ไม่ใช่ว่าจะเริ่มตั้งครรภ์แล้วเริ่มทานยา ต้องทานมาก่อน วางแผนล่วงหน้า
จำได้ว่า ผมเคยได้มีเขียนเกี่ยวกับยา Ropeginterferon ไว้ในเพจและเว็บไซท์ของชมรมฯเรามาบ้างแล้ว คือ มีการพัฒนยาโดยบริษัทยาใต้หวันกระทั่งเมื่อต้นปี 2019 มีการรับรองยาโดยองค์กรควบคุมยาของ EU คือ EMA ให้ Ropeginterferon alfa2b ภายใต้เครื่องหมายการค้า Besremi เป็น first line therapy แทนยา Hydrea สำหรับ PV และกำลังมีการดำเนินการขออนุมัติให้ใช้ใน US คาดว่าจะการรับรองในเร็วๆนี้
Ropeginterferon ดีกว่า Pegasys หรือ pegintron คือ สามารถทำให้ยาคงอยู่ในร่างกายได้นานถึง 2 อาทิตย์ ไม่ต้องไปรับยาบ่อยๆ และมีการปรับค่า molecular weight ของตัวยา ให้เหมาะสมขึ้นแต่ในไทยยังไม่มี Besremi ถึงมีราคาก็แพงมาก เพราะเป็นยาใหม่
ขอจบตอนที่ 2 นี้ไว้เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ โปรดติดตามตอนต่อๆไปกันด้วยนะครับ
CR: เจ้าของภาพ และคุณบูรชัยที่ร่วมกันสรุปข้อมูลมาแบ่งปันกันอย่างสม่ำเสมอ