สรุปประเด็นสำคัญของการประชุม MPN Horizons 2024 ตอน 6
EP6: Future treatments in Myelofibrosis
การรักษาในอนาคตของโรคพังผืดในไขกระดูก (MF)
โรคพังผืดในไขกระดูก เป็นโรค MPN ระยะรุนแรง ซึ่งลุกลามเป็นเวลาหลายปีก่อนเกิดพังผืดของโรค PV, ET หรือ pre-PMF
เป้าหมายการรักษาปัจจุบันในผู้ป่วยโรคพังผืดในไขกระดูก (MF)
ความท้าทายทางคลินิกหลักๆ 3 ประการ ในผู้ป่วยโรคพังผืดในไขกระดูกที่เป็นโรคแล้ว คือ
• Constitutional Symptoms กลุ่มอาการต่างๆ ที่มีผลต่อระบบร่างกาย เช่น มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ อ่อนล้าเป็นต้น
• Anemia ภาวะซีด
• Splenomegaly ม้ามโต
การรักษาในปัจจุบันมีประสิทธิผล แต่อัตราของการหยุดการรักษาก็ยังคงสูงอยู่
แนวคิดที่ 1: ความหวังในการรักษาในระยะเริ่มต้น
เราต้องการการรักษาที่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยโรคพังผืดในไขกระดูกที่มีความเสี่ยงต่ำหรือในระยะก่อนเกิดพังผืด (เพื่อให้เราสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการรักษาเมื่อมีโอกาสที่จะได้ผลมากขึ้น)
กลุ่มผู้ป่วยที่มีความแตกต่างกัน ไม่มีแนวทางทางคลินิกในการเลือกการรักษาและการประเมินผลของการรักษาที่แน่ชัด
แนวคิดที่ 2: ความจำเป็นของการรักษาในลำดับแรก (First Line Therapies)ที่ดีกว่าในผู้ป่วยโรคพังผืดในไขกระดูกที่เป็นแล้วนั้น…
การเพิ่มยาเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดการตอบสนองที่มั่นคงและอยู่ในระดับลึกยิ่งขึ้น
ยาที่มีการทดลองใหม่ๆที่ทำงานผ่านกลไกต่างๆ
แนวคิดที่ 3: การจัดการความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดและโรคร่วมอื่นๆ
โรคพังผืดในไขกระดูก (MF) มีความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดมากเช่นเดียวกับโรคในกลุ่ม MPN อื่นๆ ความเสี่ยงอาจแตกต่างกันไปตามสาเหตุของการเกิดโรคพังผืดในไขกระดูก
ผู้ป่วยโรคพังผืดในไกระดูกหลังเคยเป็นโรคเลือดข้นมาก่อน ( Post Polycythemia Vera
Myelofibrosis) อาจมีความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันเพิ่มขึ้น (increased thrombotic risk) เมื่อเปรียบเทียบกับ โรคพังผืดในไขกระดูกหลังเคยเป็นโรคเกล็ดเลือดสูงมาก่อน (primary and post essential thrombocythemia myelofibrosis)
บทสรุป
• ยาทดลองใหม่ๆที่มีศักยภาพในการรักษามากมายจะช่วยให้เราสามารถกำหนดการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคพังผืดในไขกระดูก (MF)
• การรักษาด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนที่ต้นเหตุของโรคและการปรับปรุงลักษณะต่างๆ ของโรค นอกจากเรื่องม้ามโตและอาการผิดปกติของร่างกาย อาจกลายเป็นจริง
Cr: the owner of data and Speakers from #mpnhz24