สรุปหัวข้อการประชุม MPN Horizons 2018 ตอนที่ 3
สวัสดีครับ เมื่อตอนที่ 2 ผมได้เล่าถึงเรื่อง การกลายพันธุ์ของยีนทั้ง 3 ชนิดที่พบในผู้ป่วยโรค MPN ทั้ง 3 ชนิด ตอนที่ 3 นี้ ผมขอพูดถึงข้อมูลทางด้านระบาดวิทยา ผลข้างเคียง และ วิธีการรักษา โดยเริ่มที่โรค PV หรือ โรคเม็ดเลือดแดงสูง ก่อนนะครับ
การระบาดวิทยาและอุบัตการณ์
– พบผู้ป่วยโรค PV ได้ทั่วโลก แต่จะน้อยหน่อยใน ประเทศญี่ปุ่น
– อายุเฉลี่ย 60 ปี ประมาณ 25% ต่ำกว่า 50 ปี 10 % ต่ำกว่า 40 ปี
– ผู้ชาย มากกว่า ผู้หญิง
– ประมาณ 2 ต่อ ประชากร 100,000 คน
– Familial tendency
– ส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุ
อาการของโรค
– ปวดหัว วิงเวียน หน้ามืด
– อ่อนเปลี้ยน เพลียแรง มีอาการคัน น้ำหนักลด
– ผิวหนังแดง หน้าแดง
– ม้ามโต
การรักษา
การควบคุม ค่าฮีมาโทคริต (Hematocrit) คือ เปอร์เซนต์ของเม็ดเลือดแดงต่อปริมาณเลือดทั้งหมด หรือ ค่าความเข้มข้นของเลือด ต้อง เท่ากับหรือน้อยกว่า 45%
– การถ่ายเลือด (Phlebotomy) เพื่อลดปริมานเม็ดเลือดแดง ควรทำกับผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปี
– การใช้ยาเคมีบำบัด เช่น Hydroxyurea เพื่อลดการทำงานของไขกระดูก สำหรับผู้ป่วยอายุมากว่า 60 ปี
– การใช้ยากระตุ้นภูมิคุ้มกัน เช่น Interferon alpha สำหรับกรณีพิเศษ เช่น การตั้งครรภ์
– การใช้ยา ที่ออกฤทธิ์ยับยั้ง ยีน JAKs (JAK Inhibitors) คือ Ruxolitinib (JAKAVI) เมื่อเกิดการดื้อยา
การใช้ยาต้านเกล็ดเลือด
– การใช้ยา Aspirin 100 mg. เพื่อลดการแข็งตัวของเลือดและการเกิดลิ่มเลือด