สรุปประเด็นสำคัญของการประชุม MPN Horizons 2023: ตอน 1
การทดลองเฟส1และ2 ของ ยา Ruxolitinib เป็นกลุ่มยา JAK Inhibitor ที่ใช้ร่วมกับ ตัวยาต่างๆเพื่อการรักษา โรคพังผืดในไขกระดูก(MF)
สไลด์นี้เป็นภาพรวมที่ซับซ้อนของเป้าหมายทางชีวภาพสำหรับยารักษาโรคใหม่ๆ ที่กำลังได้รับการพัฒนาสำหรับโรคไมอีโลไฟโบรซิส ซึ่งเป็นมะเร็งในเลือดประเภทหนึ่ง พูดง่ายๆ ก็คือแสดงให้เห็นจุดต่างๆ ภายในเซลล์และสภาพแวดล้อมที่นักวิทยาศาสตร์กำลังสำรวจเพื่อหยุดยั้งหรือชะลอการเกิดโรค
– **เซลล์และสัญญาณ:** เซลล์เม็ดเลือดของคุณมีสัญญาณและวิถีทางต่างๆ ที่ควบคุมการเจริญเติบโตและการทำงานของเซลล์ ในโรคไมอีโลไฟโบรซิส เส้นทางเหล่านี้มักจะทำงานไม่ถูกต้อง
– **ปัจจัยการเจริญเติบโต:** สิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือน ‘ปุ๋ย’ สำหรับเซลล์ ทำให้เซลล์เติบโตและอยู่รอดได้ ในโรคไมอีโลไฟโบรซิส ปัจจัยการเจริญเติบโตบางอย่างมีมากเกินไปซึ่งนำไปสู่โรค
– **สภาพแวดล้อม:** เซลล์อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมภายในไขกระดูก ในภาวะไมอีโลไฟโบรซิส สภาพแวดล้อมนี้จะเกิด ‘แผลเป็น’ (พังผืด) ทำให้เซลล์ที่มีสุขภาพแข็งแรงอยู่รอดได้ยาก
– **เป้าหมายการรักษา:** ยาที่อยู่ระหว่างการพัฒนามุ่งเป้าไปที่ส่วนเฉพาะของวิถีทางเหล่านี้และปัจจัยในการหยุดยั้งโรคไม่ให้ลุกลาม ซึ่งรวมถึงการกำหนดเป้าหมายสัญญาณ ‘ที่ไม่ดี’ (เช่น สารยับยั้ง JAK) พยายามลดรอยแผลเป็นในไขกระดูก และส่งเสริมการตายของเซลล์ที่เป็นโรคในขณะที่ปล่อยเซลล์ที่มีสุขภาพดีไว้ตามลำพัง
– **หมวดหมู่ยา:** ยาจะถูกจัดหมวดหมู่ตามสถานที่และวิธีการออกฤทธิ์ เช่น บนโปรตีนบนพื้นผิวเซลล์ (เช่น CD123 หรือ SLAMF7) ภายในเส้นทางการส่งสัญญาณของเซลล์ (เช่น JAK-STAT หรือ PI3K-AKT-mTOR) ใน ‘ศูนย์บัญชาการ’ (นิวเคลียส) ของเซลล์ที่ส่งผลต่อวิธีการอ่านและใช้งานยีน หรือโดยมีอิทธิพลต่อวงจรชีวิตของเซลล์
มันเหมือนกับการมีสวนที่ต้นไม้บางชนิดเริ่มเติบโตอย่างควบคุมไม่ได้และเบียดบังต้นไม้ที่ดีต่อสุขภาพ การบำบัดเหล่านี้เปรียบเสมือนเครื่องมือทำสวนที่เจาะจงมาก ซึ่งออกแบบมาเพื่อกำหนดเป้าหมายเฉพาะพืชที่โตมากเกินไปโดยไม่ทำร้ายส่วนอื่นๆ ของสวน
Cr: Speaker and the owner of data และ Mr. David wallace ที่ช่วยอธิบายภาพให้ได้เข้าใจอย่างชัดเจน #mpnhz23
สรุปประเด็นสำคัญของการประชุม MPN Horizons 2023 ตอน 2
การรักษาด้วยตัวยาใหม่ๆนอกเหนือจากยา Ruxolitinibในการรักษาโรค MPNs ของปี 2023 และ ในอนาคต
โรคเลือดข้น PV
– Ropeginterferon ที่ได้รับการอนุมัติแล้วเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2021
– PTG-300 (Rusfertide-hepcidin mimetic)
โรคเกล็ดเลือดสูง ET
– Ropeginterferon
– Bomedemstat(poLSD-1 inhibitor
โรคพังผืดในไขกระดูก MF
1. ยาตัวใหม่นอกจากยา Ruxolitinib and Fedratinib
-Pacritinib (PAC) ที่ได้รับการอนุมัติเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2022 สำหรับ ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงปานกลางและสูง ที่มีเกล็ดเลือดน้อยกว่า 50,000
– Momelotinib (MOMENTUM Ph3)
– NS-018, ยายับยั้ง JAK ตัวอื่นๆ
2. ยา JAKi ตัวใหม่ร่วมกับยา Ruxolitinib
– BCLXLi + Ruxo
– BRDi / BETi + Rixo
3. ตัวยาใหม่ๆเลยนอกเหนือจากยายับยั้ง JAK สำหรับผู้ป่วย MF ที่โรคกลับมา/โรคไม่ตอบสนองต่อการรักษา
4. ผู้ป่วย MF ที่มีอาการซีด ต้องใช้ยาตัวใหม่/วิธีการใหม่ เช่น ACVR1 และ อื่นๆ
CR: Speaker and the owner of data
สรุปประเด็นสำคัญของการประชุม MPN Horizons 2023 ตอน 3
Speaker ได้นำเสนอ ผลการศึกษาชิ้นหนึ่ง เกี่ยวกับสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคเลือดข้น PV จำนวน 164 คน พบว่า
อันดับ 1 : 41.12% โรคหัวใจและหลอดเลือด
อันดับ 2 : 19.51% มะเร็งชนิดก้อน
อันดับ 3 : 15.24% สาเหตุอื่นที่ไม่ใช่ โรคหัวใจและหลอดเลือด
อันดับ 4 : 13.4% การเปลี่ยนแปลงทางโลหิตวิทยา
อันดับ 5 : 6.71% ไม่ทราบสาเหตุ
เพื่อนๆ จะเห็นว่า โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือ Cardio Vascular (CV) เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่ง เนื่องจาก เป็นกลุ่มของโรคที่แสดงความผิดปกติในส่วนหลอดเลือดหัวใจและส่งผลต่อการไหลเวียนของปริมาณเลือดไปเลี้ยงยังกล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์สมอง โดยมีจุดเริ่มต้นจาก การเกิดภาวะลิ่มเลือดไขมันสะสมและอุดตันการไหลเวียนของเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วย PV จะมีภาวะฮีมาโตคริตสูง (High hematocrit level) ย่อว่า Hct หรือ HT คือ ปริมาตรของเม็ดเลือดแดงที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ (%)ของปริมาตรเลือด มากกว่าระดับปกติ
อีกหนึ่งสาเหตุคือ เลือดออกหรือการตกเลือด bleeding, hemorrhage คือ ภาวะที่มีเสียเลือดจากระบบไหลเวียน อาจเป็นการตกเลือดภายในหรือภายนอก ออกจากช่องเปิดตามธรรมชาติเช่น ช่องคลอด ปาก จมูก หู ทวารหนัก หรือ ออกจากแผลเปิดที่ผิวหนังก็ได้ และสาเหตุที่ทำให้เลือดออก มักเกิดจากอุบัติเหตุมีบาดแผล ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือ ตัวโรคเลือดที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด เป็นต้น
Cr: the owner of data and Speaker #mpnhz23
สรุปประเด็นสำคัญของการประชุม MPN Horizons 2023 ตอน 4
Speaker ได้นำเสนอประเด็นหนึ่งเกี่ยวกับว่า ทำไม แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ถึงต้องส่งผู้ป่วยโรค MPNs ไปพบหมอทางโลหิตวิทยา ซึ่งมีความจำเป็นต้องทำการตรวจทาง lab เพื่อดูและประเมินค่า ของผู้ป่วย MPN แต่ละชนิดที่ มีความแตกต่างกันไป ดังนี้
โรคเลือดข้น PV
ฮีโมโกลบิน Hb : มากกว่า 16.5 ในผู้ชาย และ มากกว่า 16.0 ในผู้หญิง
ฮีโมโตคริต Hct: มากกว่า 49% ในผู้ชาย และ มากกว่า 48% ในผู้หญิง
เกล็ดเลือด Plt: อาจสูงเกินค่าปกติ
เม็ดเลือดขาว WBC: อาจสูงเกิน
เซลล์มะเร็ง Blasts: None
LDH เป็นเอนไซม์ที่บ่งบอกว่าเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บ : ปกติ
ม้าม Spleen: อาจพบม้ามโต 70%
โรคเกล็ดเลือดสูง ET
ฮีโมโกลบิน Hb : ปกติ
ฮีโมโตคริต Hct: ปกติ
เกล็ดเลือด Plt: มากกว่า 450,000
เม็ดเลือดขาว WBC: ปกติ
เซลล์มะเร็ง Blasts: None
LDH เป็นเอนไซม์ที่บ่งบอกว่าเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บ : ปกติ
ม้าม Spleen: อาจพบม้ามโต 50%
โรคพังผืดในไขกระดูก ชนิด Pre PMF
ฮีโมโกลบิน Hb : ปกติ หรือ ลดลง
ฮีโมโตคริต Hct: ปกติ
เกล็ดเลือด Plt: อาจสูงเกิน
เม็ดเลือดขาว WBC: เท่ากับหรือมากกว่า 11,000
เซลล์มะเร็ง Blasts: ไม่เพิ่มขึ้น
LDH เป็นเอนไซม์ที่บ่งบอกว่าเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บ : เพิ่มขึ้นได้ไม่ต่อเนื่อง
ม้าม Spleen: อาจพบม้ามโต
โรคพังผืดในไขกระดูก ชนิด PMF
ฮีโมโกลบิน Hb : ลดลง
ฮีโมโตคริต Hct: ปกติ หรือ ลดลง
เกล็ดเลือด Plt: ทั้งเพิ่มขึ้นและลดลงได้
เม็ดเลือดขาว WBC: เท่ากับหรือมากกว่า 11,000
เซลล์มะเร็ง Blasts: อาจเพิ่มขึ้น
LDH เป็นเอนไซม์ที่บ่งบอกว่าเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บ : เพิ่มขึ้น
ม้าม Spleen: ม้ามโตมากกว่า 19 cm.
Cr: the owner of data and Speaker #mpnhz23
สรุปประเด็นสำคัญของการประชุม MPN Horizons 2023 ตอน 5
What are complementary therapies for?
ผู้ป่วยมะเร็งบางรายอาจพิจารณาใช้ “การรักษาเสริม” นอกเหนือจากการรักษามะเร็งมาตราฐาน. การรักษาเสริม ใช้เพื่อ:
•ลดผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็ง
• ทำให้มีสุขภาวะทางร่างกายและอารมณ์ที่ดีขึ้น
•ช่วยเพิ่มการฟื้นตัวจากโรคมะเร็ง
ตัวอย่างของ การรักษาเสริม เช่น โยคะ ไทเก็กและชี่กง การทำสมาธิ การนวด การฝังเข็ม การรักษาด้วยศิลปะและดนตรี โภชนาการ และ การทำกิจกรรมทางกายภาพ เช่น งานบ้าน การเล่นกีฬา ออกกำลังกาย เดิน วิ่ง ขี่จักรยาน ที่พอเหมาะกับสภาพร่างกาย เป็นต้น
มีการทำการสำรวจผู้ป่วยโรค MPNs ประมาณ 800 กว่าคน ที่เข้าร่วม การรักษาด้วย การแพทย์บูรณาการ หรือ Integrative medicine เป็นการนำการแพทย์แผนปัจจุบัน และ การแพทย์ทางเลือก หรือ การแพทย์เสริม มาผสมผสานหรือบูรณาการกันในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ด้วยการใช้วิธีการต่างๆ เช่น ประเมินด้วยการใช้แบบฟอร์มการประเมินความรุนแรงของอาการ คุณภาพชีวิต เป็นต้น เป็นตัววัดค่า
ผมขอยกตัวอย่างที่น่าสนใจของ ผลของกิจกรรมที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ ตอบว่า YES มากกว่า NO ในประเภทกิจกรรมต่างๆที่วัดด้วยแบบฟอร์มการประเมินความรุนแรงของอาการ ที่เรียกว่า MPN-SAF TSS ดังนี้ครับ
Massage การนวด Yes = 40.5 No = 35.3
Acupuncture การฝังเข็ม Yes = 38.2 No = 36.6
Breathing exercise การฝึกการหายใจ Yes = 39.5 No = 36.4
Support Groups กลุ่มการสนับสนุน Yes = 42.3 No = 36.0
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมการสำรวจนี้ เห็นด้วยกับ การใช้วิธีการรักษาแบบบูรณาการ ที่ช่วยลดความรุนแรงของอาการต่างๆได้ดีขึ้น ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
Cr: the owner of data and Speaker #mpnhz23