สวัสดีครับ ตอนที่ 7 นี้เป็นตอนต่อจากตอนที่ 6 ของโรค MPN ชนิด MF ซึ่งผมขอพูดถึง วิธีการรักษา ที่ทาง Speaker ได้นำเสนอไว้ดังนี้ครับ
การรักษาตามความเสี่ยงของโรค MF
ความเสี่ยงต่ำและความเสี่ยงปานกลางระดับ 1
– ถ้าไม่มีอาการ ให้ Wait and See คือ คอยติดตามดูจนกว่าจะมีอาการที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาต่อไป
– ถ้ามีอาการ ให้ รักษาไปตามอาการ ตามที่หมอเห็นสมควรว่าจะรักษาด้วยวิธีใด
ความเสี่ยงปานกลางระดับ 2 และความเสี่ยงสูง
ถ้าไม่เหมาะสมหรือสามารถปลูกถ่ายไขกระดูกได้
– รักษาตามอาการ ถ้าไม่มีผลตอบสนอง ก็พิจารณาให้ยาในโครงการวิจัยที่ได้รับการอนุมัติแล้ว
ถ้าเหมาะสมและสามารถปลูกถ่ายไขกระดูกได้ ให้หมอดำเนินการปลูกถ่าย
การรักษาตามอาการ ของ โรค MF
การรักษาตามอาการของโรค MF แบ่งเป็น 3 อาการ คือ
1. กลุ่มอาการที่มีผลต่อระบบต่างๆของร่างกาย (Constitutional Symptoms) เช่น มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ อ่อนล้า เป็นต้น ให้รักษาด้วย ยา คอร์ติโคสตีรอยด์ คือยาที่ใช้ลดอาการบวมและอักเสบของระบบทางเดินหายใจ และ ยายับยั้งยีน JAK2 คือ Ruxolitinib
2. ภาวะซีด (Anemia) การที่ร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือดน้อยกว่าปกติ ทำให้ รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย หายใจลำบากขณะออกแรง มึนงง ปวดหัว มื้อเท้าเย็น ผิวซีดหรือผิวเหลือง เจ็บหน้าอก ใจสั่น ถ้ารุนแรงทำให้หัวใจทำงานหนักจนหัวใจล้มเหลว ให้รักษาด้วย การฉีดฮอร์โมนอิริโธรโพอิติน เพื่อช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ไขกระดูก การให้ฮอร์โมน Androgens การให้ยากล่อมประสาท ธาลิโดไมด์ บวกกับ ยาคอร์ติโคสตีรอยด์ การให้เลือด (Blood Transfusion)
3. อาการเกี่ยวกับม้ามโต
ให้รักษาด้วย ยายับยั้งยีน JAK2 Ruxolitinib ยาเคมีบำบัด การตัดม้าม การฉายรังสี ตามที่แพทย์จะพิจารณาเห็นสมควร