สวัสดีครับ เมื่อตอนที่ 3 ผมได้เขียนเล่าถึง โรค MPN ชนิดแรก คือ โรคเลือดข้นหรือเลือดหนืด PV มาตอนที่ 4 นี้ผมขอมาเขียนเล่าถึง โรค MPN ตัวที่ 2 คือ โรค เกล็ดเลือดสูง ET ในด้านสถิติการตรวจพบของผู้ป่วย ลักษณะทางคลินิค และความผิดปกติของทางห้องแลบ ก่อนนะครับ
โรคเกล็ดเลือดสูง ET
การระบาดวิทยาและอุบัติการณ์ ET
– พบได้ในประชากรทั้งหมด
– อายุเฉลี่ย 55 ปี
– ผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
– ประมาณ 2-3 ต่อประชากร 100000 คน
ลักษณะทางคลินิค ET
– พบกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท เช่น เจ็บปวด แขนขาบวมแดง ปวดหัว สูญเสียการได้ยิน มีภาวะพาเรสทีเซีย คือ ความรู้สึกเหมือนของแหลมทิ่มแทง รู้สึกคัน เสียว หรือแสบ บริเวณ มือ แขน ขาและเท้า ภาะวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
– ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดอุดตัน
– ภาวะเลือดออกหรือการตกเลือด มึค่า เกล็ดเลือดสูงมากกว่า 1,500,000 เซลล์ต่อไมโครลิตร
ความผิดปกติของการตรวจทางห้องแลบ ET
– เกล็ดเลือดสูง
– เม็ดเลือดขาวสูง
– (ค่าฮีโมโกลบิน เท่ากับ ปกติ)
– ค่า LDH และ uric acid สูง
– พบการกลายพันธุ์ของยีน JAK2, CARL และ mpl